วันพฤหัสบดีที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 12

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 12
วันจันทร์ที่ 14 พฤศจิกายน 2559
เวลาเรียน 8.30 - 12.30 น.

เนื้อหาที่เรียน
   เริ่มการเรียนโดยอาจารย์ทบทวนความคิดสร้างสรรค์ที่เคยเรียนผ่านมา การนำความคิดสร้างสรรค์มาจัดกระบวนการให้เด็กดังนี้
เริ่มต้นคิดด้วยความคิดริเริ่ม
เกิดความคิดคล่องแคล่ว
มีการปรับแก้ให้มีความยืดหยุ่น
เกิดการคิดละเอียดละออ
   
   อาจารย์ให้นักศึกษาฝึกคิด ถามตอบเร็ว โดยกำหนดคำขึ้นมาแล้วให้นักศึกษาตอบเกี่ยวกับคำที่อาจารย์กำหนดในทันที เช่น อาจารย์พูดถึงภูเขา แล้วนักศึกษานึกถึงอะไร แต่ละคนต่างมีความคิดที่แตกต่างกัน บางคนบอกเส้นโค้ง บางคนบอกป่า บางคนบอกหน้าอก และอื่นๆ อาจารย์จึงได้อธิบายเกี่ยวกับการคิดของแต่ละคนออกเป็น 2 แบบ 8 คือ
1.คิดจากสิ่งที่รู้สึก เช่น นึกถึงสีเขียว ต้นไม้ น้ำ ลำธาร สัตว์ป่า เป็นต้น
2.คิดแบบเทียบเคียง เช่น นึกถึงหน้าอก
ในการตอบเป็นการให้คำจำกัด แต่มีการใช้ภาษา มีความหมายได้หลากหลาย บนพื้นฐานของภาษา


 * การจินตนาการ คือ สิ่งที่เราเทียบเคียงจากสิ่งที่มีอยู่
** การใช้ภาษาผ่านความคิดสร้างสรรค์ เช่น การสร้างกรงผีเสื้อ การออกแบบบ้าน ประดิษฐ์คิดออกมาให้มีรูปแบบที่แตกต่าง
*** ถ้าอยากมีความคิดสร้างสรรค์ ต้องฝึกทำ ฝึกประสบการณ์ ฝึกการหา ฝึกการอ่านให้มากๆ
   
   
   อาจารย์สอนเกี่ยวกับการจัดประสบการณ์กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะที่เปิดโอกาสให้เด็กเกิดความคิดสร้างสรรค์

                                                                        ↗มีอุปกรณ์
                                                          เคลื่อนที่
                                                                        ไม่มีอุปกรณ์
                                                      ↗
                                 การเคลื่อนไหว
                                                       ↘                 มีอุปกรณ์
                                                         ไม่เคลื่อนที่
                                                           (อยู่กับที่)    ไม่มีอุปกรณ์

➤กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ
   1.การเคลื่อนไหวประกอบเพลง ให้เด็กสร้างสรรค์ในการทำท่าทาง หรือลีลาประกอบ
   2.การเคลื่อนไหวตามคำบรรยาย ให้เด็กได้คิดสร้างสรรค์จากจินตนาการของเด็กเอง
   3.การเคลื่อนไหวตามคำสั่ง เด็กได้คิดสร้างสรรค์จากการทำตามคำสั่ง เช่น สั่งให้เด็กทำท่าทางลิง เด็กแต่ละคนอาจจะทำท่าทางที่ไม่เหมือนกัน แล้วแต่ความคิด จินตนาการของเด็กแต่ละคน
   4.การเคลื่อนไหวแบบผู้นำผู้ตาม เด็กได้ความคิดสร้างสรรค์จากการเป็นผู้นำ ผู้นำมีอิสระในการคิด ผู้นำเป็นคนออกแบบความคิดและเพื่อนทำตาม โดยให้เด็กได้ผลัดเปลี่ยนเวียนกันออกมาเป็นผู้นำ
   5.การเคลื่อนไหวตามข้อตกลง เด็กได้ความคิดสร้างสรรค์จากการทำท่าทางต่างๆตามข้อตกลง
   6.การเคลื่อนไหวแบบความจำ เด็กได้คิดสร้างสรรค์จากการเคลื่อนไหวไปตามมุมต่างๆ ที่กำหนดไว้
➤องค์ประกอบของการเคลื่อนไหวและจังหวะ
   1.การใช้ส่วนต่างๆของร่างกาย
   2.การหาพื้นที่ ทิศทาง
ระดับการให้จังหวะประกอบด้วย
   1.จังหวะปกติ
   2.จังหวะช้า
   3.จังหวะเร็ว
   จากนั้นอาจารย์ให้นักศึกษาแบ่งกลุ่ม แจกกระดาษให้กลุ่มละ 1 แผ่น ให้ช่วยกันวางแผนการจัดกิจกรรมการเคลื่อนไหวและจังหวะที่เปิดโอกาสให้เด็กได้เกิดความคิดสร้างสรรค์จาก 6 กิจกรรม โดยแต่ละกลุ่มจะได้กิจกรรมไม่ซ้ำกัน แล้วให้ออกมาสอนหน้าชั้น กลุ่มของฉันได้กิจกรรมการเคลื่อนไหวแบบความจำ
กลุ่มที่ 1 การเคลื่อนไหวตามข้อตกลง
กลุ่มที่ 2 การเคลื่อนไหวประกอบเพลง 
กลุ่มที่ 3 การเคลื่อนไหวแบบผู้นำผู้ตาม 
 กลุ่มที่ 4 การเคลื่อนไหวตามคำบรรยาย
กลุ่มที่ 5 การเคลื่อนไหวแบบความจำ
กลุ่มที่ 6  การเคลื่อนไหวตามข้อตกลง

-----------------------------------------------------------------
ความรู้ที่ได้รับ
   สามารถนำความรู้ที่ได้มาปรับใช้ในการจัดประสบการณ์ความคิดสร้างสรรค์ได้อย่างถูกต้อง เเละเหมาะสม สามารถบูรณาการเข้ากับศาสตร์ต่างๆได้ เช่น การจัดกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะผ่านการคิดสร้างสรรค์ การจินตนาการ และนำมาต่อยอดทางการศึกษาในอนาคต

ประเมินผล
 ประเมินตนเอง
   เข้าเรียนตรงเวลา แต่งกายเรียบร้อย ตั้งใจเรียน และให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมต่างๆเป็นอย่างดี

 ประเมินเพื่อน
   เพื่อนๆตั้งใจเรียน และตั้งใจทำกิจกรรมต่างๆอย่างเต็มที่ ไม่พูดคุยกันเสียงดัง และสนุกสนานในการทำกิจกรรมต่างๆ

 ประเมินอาจารย์
   อาจารย์เข้าสอนตรงเวลา แต่งกายเรียบร้อย มีการเตรียมการเรียนการสอนมาดี และให้คำแนะนำในการเรียนการสอน


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น