วันพฤหัสบดีที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 12

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 12
วันจันทร์ที่ 14 พฤศจิกายน 2559
เวลาเรียน 8.30 - 12.30 น.

เนื้อหาที่เรียน
   เริ่มการเรียนโดยอาจารย์ทบทวนความคิดสร้างสรรค์ที่เคยเรียนผ่านมา การนำความคิดสร้างสรรค์มาจัดกระบวนการให้เด็กดังนี้
เริ่มต้นคิดด้วยความคิดริเริ่ม
เกิดความคิดคล่องแคล่ว
มีการปรับแก้ให้มีความยืดหยุ่น
เกิดการคิดละเอียดละออ
   
   อาจารย์ให้นักศึกษาฝึกคิด ถามตอบเร็ว โดยกำหนดคำขึ้นมาแล้วให้นักศึกษาตอบเกี่ยวกับคำที่อาจารย์กำหนดในทันที เช่น อาจารย์พูดถึงภูเขา แล้วนักศึกษานึกถึงอะไร แต่ละคนต่างมีความคิดที่แตกต่างกัน บางคนบอกเส้นโค้ง บางคนบอกป่า บางคนบอกหน้าอก และอื่นๆ อาจารย์จึงได้อธิบายเกี่ยวกับการคิดของแต่ละคนออกเป็น 2 แบบ 8 คือ
1.คิดจากสิ่งที่รู้สึก เช่น นึกถึงสีเขียว ต้นไม้ น้ำ ลำธาร สัตว์ป่า เป็นต้น
2.คิดแบบเทียบเคียง เช่น นึกถึงหน้าอก
ในการตอบเป็นการให้คำจำกัด แต่มีการใช้ภาษา มีความหมายได้หลากหลาย บนพื้นฐานของภาษา


 * การจินตนาการ คือ สิ่งที่เราเทียบเคียงจากสิ่งที่มีอยู่
** การใช้ภาษาผ่านความคิดสร้างสรรค์ เช่น การสร้างกรงผีเสื้อ การออกแบบบ้าน ประดิษฐ์คิดออกมาให้มีรูปแบบที่แตกต่าง
*** ถ้าอยากมีความคิดสร้างสรรค์ ต้องฝึกทำ ฝึกประสบการณ์ ฝึกการหา ฝึกการอ่านให้มากๆ
   
   
   อาจารย์สอนเกี่ยวกับการจัดประสบการณ์กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะที่เปิดโอกาสให้เด็กเกิดความคิดสร้างสรรค์

                                                                        ↗มีอุปกรณ์
                                                          เคลื่อนที่
                                                                        ไม่มีอุปกรณ์
                                                      ↗
                                 การเคลื่อนไหว
                                                       ↘                 มีอุปกรณ์
                                                         ไม่เคลื่อนที่
                                                           (อยู่กับที่)    ไม่มีอุปกรณ์

➤กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ
   1.การเคลื่อนไหวประกอบเพลง ให้เด็กสร้างสรรค์ในการทำท่าทาง หรือลีลาประกอบ
   2.การเคลื่อนไหวตามคำบรรยาย ให้เด็กได้คิดสร้างสรรค์จากจินตนาการของเด็กเอง
   3.การเคลื่อนไหวตามคำสั่ง เด็กได้คิดสร้างสรรค์จากการทำตามคำสั่ง เช่น สั่งให้เด็กทำท่าทางลิง เด็กแต่ละคนอาจจะทำท่าทางที่ไม่เหมือนกัน แล้วแต่ความคิด จินตนาการของเด็กแต่ละคน
   4.การเคลื่อนไหวแบบผู้นำผู้ตาม เด็กได้ความคิดสร้างสรรค์จากการเป็นผู้นำ ผู้นำมีอิสระในการคิด ผู้นำเป็นคนออกแบบความคิดและเพื่อนทำตาม โดยให้เด็กได้ผลัดเปลี่ยนเวียนกันออกมาเป็นผู้นำ
   5.การเคลื่อนไหวตามข้อตกลง เด็กได้ความคิดสร้างสรรค์จากการทำท่าทางต่างๆตามข้อตกลง
   6.การเคลื่อนไหวแบบความจำ เด็กได้คิดสร้างสรรค์จากการเคลื่อนไหวไปตามมุมต่างๆ ที่กำหนดไว้
➤องค์ประกอบของการเคลื่อนไหวและจังหวะ
   1.การใช้ส่วนต่างๆของร่างกาย
   2.การหาพื้นที่ ทิศทาง
ระดับการให้จังหวะประกอบด้วย
   1.จังหวะปกติ
   2.จังหวะช้า
   3.จังหวะเร็ว
   จากนั้นอาจารย์ให้นักศึกษาแบ่งกลุ่ม แจกกระดาษให้กลุ่มละ 1 แผ่น ให้ช่วยกันวางแผนการจัดกิจกรรมการเคลื่อนไหวและจังหวะที่เปิดโอกาสให้เด็กได้เกิดความคิดสร้างสรรค์จาก 6 กิจกรรม โดยแต่ละกลุ่มจะได้กิจกรรมไม่ซ้ำกัน แล้วให้ออกมาสอนหน้าชั้น กลุ่มของฉันได้กิจกรรมการเคลื่อนไหวแบบความจำ
กลุ่มที่ 1 การเคลื่อนไหวตามข้อตกลง
กลุ่มที่ 2 การเคลื่อนไหวประกอบเพลง 
กลุ่มที่ 3 การเคลื่อนไหวแบบผู้นำผู้ตาม 
 กลุ่มที่ 4 การเคลื่อนไหวตามคำบรรยาย
กลุ่มที่ 5 การเคลื่อนไหวแบบความจำ
กลุ่มที่ 6  การเคลื่อนไหวตามข้อตกลง

-----------------------------------------------------------------
ความรู้ที่ได้รับ
   สามารถนำความรู้ที่ได้มาปรับใช้ในการจัดประสบการณ์ความคิดสร้างสรรค์ได้อย่างถูกต้อง เเละเหมาะสม สามารถบูรณาการเข้ากับศาสตร์ต่างๆได้ เช่น การจัดกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะผ่านการคิดสร้างสรรค์ การจินตนาการ และนำมาต่อยอดทางการศึกษาในอนาคต

ประเมินผล
 ประเมินตนเอง
   เข้าเรียนตรงเวลา แต่งกายเรียบร้อย ตั้งใจเรียน และให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมต่างๆเป็นอย่างดี

 ประเมินเพื่อน
   เพื่อนๆตั้งใจเรียน และตั้งใจทำกิจกรรมต่างๆอย่างเต็มที่ ไม่พูดคุยกันเสียงดัง และสนุกสนานในการทำกิจกรรมต่างๆ

 ประเมินอาจารย์
   อาจารย์เข้าสอนตรงเวลา แต่งกายเรียบร้อย มีการเตรียมการเรียนการสอนมาดี และให้คำแนะนำในการเรียนการสอน


วันอาทิตย์ที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 11

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 11
วันจันทร์ที่ 7 พฤศจิกายน 2559
เวลาเรียน 8.30 - 12.30 น.


เนื้อหาที่เรียน
   อาจารย์ให้นักศึกษานำสิ่งประดิษฐ์จากเศษวัสดุเหลือใช้ที่ทำออกมานำเสนอหน้าชั้นเรียน สิ่งประดิษฐ์ของฉันคือ ตู้เย็นจากขวดน้ำ ซึ่งประดิษฐ์ได้ยาก ทำให้งานไม่ค่อยเรียบร้อยเท่าที่ควร อาจารย์จึงให้เปลี่ยนจากขวดน้ำเป็นกล่องกระดาษแทน

ตู้เย็นจากขวดน้ำ
ด้านนอก
ด้านใน

สิ่งประดิษฐ์ของเพื่อนๆ 
** สิ่งประดิษฐ์จากการทดลอง **

1.โฮโรแกรมสามมิติ



2.เตาอบป๊อปคอร์นจากกระป๋อง
3.รถขับเคลื่อนด้วยหนังยาง

** สิ่งประดิษฐ์ที่เป็นของใช้อเนกประสงค์ **

4.เตาปิ้งพกพา
5.โคมไฟจากช้อนพลาสติก
6.อ่างล้างจานจากกล่องกระดาษ
7.เตาเเก๊ส
8.หมวกจากกล่องนม
9.กระเป๋าจากกล่องนม
10.เครื่องคิดเงิน เครื่องแคชเชียร์ (จากกล่อง)
11.ถังขยะจากขวดน้ำ
12,เสื่อจากกล่องนม
13.บัวรดน้ำจากกระป๋อง
14.กล่องดินสอจากขวดพลาสติก
15.โต๊ะเขียนหนังสือ(จากกระดาษลัง)
16.ตู้ลิ้นชักจากกล่อง
17.กระเป๋าจากกล่อง
18.เชือกร้อยรองเท้า
19.ที่เช็ดทำความสะอาดพื้นรองเท้า
20.ฝาชีจากขวดน้ำ
21.ที่คาดผมจากที่เปิดกระป๋อง
22.เคสโทรศัพท์
สิ่งประดิษฐ์ต่างๆ

   หลังจากนำเสนอสิ่งประดิษฐ์จนครบทุกคนแล้ว อาจารย์ก็แจกกระดาษให้นักศึกษาคนละ 1 แผ่น แล้วให้ตั้งประเด็นปัญหาเกี่ยวกับสิ่งประดิษฐ์ของตนเอง เขียนใส่กระดาษ เพื่อฝึกทักษะในการคิด วิเคราะห์ แล้วอาจารย์ก็ถามทีละคน และให้คำแนะนำในการตั้งประเด็นปัญหา ซึ่งในการตั้งประเด็นสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 แบบคือ 1.ตั้งปัญหา 2.ตั้งเป้าหมาย
     อาจารย์ยกตัวอย่างคือ แว่นขยาย 
     ประเด็นปัญหา  "เราจะทำอย่างไรให้เห็นสิ่งต่างๆ ได้ชัดเจนมากยิ่งขึ้น จากวัสดุเหลือใช้ เช่น ขวดพลาสติก "
      ประเด็นปัญหาของฉันคือ "ถ้าอยากให้เด็กมีประสบการณ์ ในการถนอมอาหารหรือมีที่เก็บของสำหรับเก็บอาหาร เราจะทำอะไรได้บ้าง "
   กิจกรรม
  อาจารย์ให้นักศึกษาแต่ละกลุ่มช่วยการทำสื่อการสอนเกี่ยวกับตัวเลข






----------------------------------------------------------------

การนำมาประยุกต์ใช้
   -นำความรู้ที่ได้จากการประดิษฐ์สื่อจากวัสดุเหลือใช้ มาประยุกต์ใช้ได้จริงทั้งในชีวิตประจำวันและนำมาปรับใช้ในการทำสิ่งประดิษฐ์สำหรับการจัดการเรียนการสอนเพื่อจัดประสบการณ์ความคิดสร้างสรรค์ให้เด็กได้
   -การตั้งประเด็นปัญหาคำถามปลายเปิด ช่วยให้เราได้ฝึกคิด ฝึกวิเคราะห์ ฝึกการจับประเด็นของสิ่งประดิษฐ์ เพื่อสามารถนำมาใช้ในถามตอบสำหรับการเรียนการสอนได้
   -นำความรู้ที่ได้จากกิจกรรม มาต่อยอดเพื่อนำไปใช้ในการศึกษาต่อ

ประเมินผล
 ประเมินตัวเอง
   เข้าเรียนตรงเวลา เเต่งกายเรียบร้อย ได้ฝึกทักษะในการคิดการตั้งประเด็นปัญหา การนำเสนอหน้าชั้นเพื่อฝึกความกล้า และให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมต่างๆ

 ประเมินเพื่อน
   เพื่อนๆตั้งใจเรียน ตั้งใจนำเสนองาน ไม่พูดคุยเสียงดัง และให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมต่างๆเป็นอย่างดี

 ประเมินอาจารย์
   อาจารย์เข้าสอนตรงเวลา มีการเตรียมการเรียนการสอนมาดี อาจารย์อธิบายเนื้อหาสาระได้เข้าใจง่าย มีการยกตัวอย่างประกอบการสอนเสมอ



บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 10

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 10
วันจันทร์ที่ 31 ตุลาคม 2559
เวลาเรียน 8.30-12.30 น.

เนื้อหาที่เรียน
   การจัดประสบการณ์ กิจกรรมบูรณาการ จะต้องจัดกิจกรรมให้เด็กได้เรียนรู้ ได้พัฒนาการทั้ง 4 ด้าน ซึ่งจะต้องมีความเชื่อมโยงความรู้และศาสตร์ต่างๆเข้าด้วยกัน เน้นที่เด็กให้เด็กได้ลงมือกระทำ

" ทำไมจึงต้องจัดกิจกรรมบูรณาการ ? "

กิจกรรมบูรณาการ
|
V
เด็กมีพัฒนาการทั้ง 4 ด้าน เชื่อมโยงกัน
|
V
จัดกิจกรรมสอดคล้องกับชีวิตประจำวัน เช่น จัดกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับตัวเด็ก หรือ สิ่งที่เด็กสนใจ
|
V
เป้าหมาย เด็กเกิดการเรียนรู้ และมีการส่งเสริมพัฒนาการทั้ง 4 ด้าน

  **เด็กได้ลงมือทำผ่านประสาทสัมผัสทั้ง 5 มีวิธีการเรียนรู้ คือ เหมาะสมกับพัฒนาการและสอดคล้องกับการเรียนรู้

การจัดกิจกรรมความคิดสร้างสรรค์
   จัดกิจกรรมที่เปิดโอกาสให้เด็กได้มีความคิดริเริ่ม ครูควรใช้อุปกรณ์ วัสดุ และกิจกรรมที่มีความหลากหลายหรือมีความแตกต่าง ให้เด็กได้ทำ ได้ฝึกกิจกรรมบ่อยๆ ซ้ำๆ จะทำให้เด็กเกิดความคิดคล่องแคล่ว เมื่อเกิดความคล่องคล่องก็จะทำให้เกิดความคิดยืดหยุ่น และมีการปรับเปลี่ยนแก้ไขเรื่องราวต่างๆให้เด็กเกิดความคิดละเอียดละออ ส่งผลไปสู่ความคิดสร้างสรรค์ตามจินตนาการ

ลักษณะของคนมีความคิดสร้างสรรค์
  -คิดบวก
  -มีเหตุผล
  -มีความตระหนัก
  -เข้าใจดี
-----------------------------------------------------

   อาจารย์มอบหมายงานให้นักศึกษาทำเกี่ยวกับการส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ให้ผู้ปกครอง โดยให้นักศึกษาคิดประดิษฐ์สิ่งของเกี่ยวกับอุปกรณ์ที่กำหนด คือ 1.ขวดน้ำ 2.กระป๋องน้ำอัดลม 3.กล่องกระดาษ มากลุ่มละ 1 อย่าง และทำทุกคน โดยใช้คิดว่าจะทำอะไรจากอุปกรณ์ได้บ้าง ให้คิดครีเอท เทียบเคียงจากลักษณะอุปกรณ์ กลุ่มของฉันได้ขวดน้ำ ฉันจึงเลือกทำ ตู้เย็นจากขวดน้ำ


---------------------------------------------------

การนำมาประยุกต์ใช้
  -นำความรู้ที่ได้มาจัดประสบการณ์การบูรณาการความคิดสร้างสรรค์ให้เหมาะสมกับเด็ก
  -นำความรู้ที่ได้มาต่อยอดในการประดิษฐ์สิงของจากวัสดุเหลือใช้ สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้ อันเกิดจากความคิดสร้างสรรค์
  -เป็นแนวทางในการเรียนการสอนในอนาคตต่อไป

ประเมินผล
 ประเมินตนเอง
   เข้าเรียนสายไป 5 นาที แต่งกายเรียบร้อย ตั้งใจเรียน ใช้ความคิดสร้างสรรค์จินตนาการจากการคิดเทียบเคียงการประดิษฐ์สิ่งของจากขวดน้ำ 

 ประเมินเพื่อน
   เพื่อนๆตั้งใจเรียน ไม่พูดคุยเสียงดัง ให้ความร่วมมือในการเรียนการสอน และได้ใช้ความคิดสร้างสรรค์ในการเลือกสิ่งประดิษฐ์

 ประเมินอาจารย์
   อาจารย์ใจดี เข้าสอนตรงเวลา แต่งกายสุภาพเรียบร้อย สอนเข้าใจ มีการอธิบายประกอบเนื้อหาการเรียนการสอน