วันศุกร์ที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 3

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 3
วันจันทร์ที่ 12 กันยายน 2559
เวลาเรียน 8.30-12.30 น.

   เนื้อหาที่เรียน
    วันนี้เป็นการเรียนร่วมกันของ 2 เซค ก่อนเข้าสู่เนื้อหาการเรียนการสอนอาจารย์ให้นักศึกษาร้องเพลงภาษาอังกฤษ เป็นการทบทวนจากสัปดาห์ที่แล้ว เพื่อผ่อนคลายก่อนการเรียน



เนื้อหาการเรียนรู้
   เรื่อง STEM / STEAM Education


STEM” คืออะไร
   -เป็นการจัดการศึกษาแบบบูรณาการความรู้ทางวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรมศาสตร์ และคณิตศาสตร์
   -นำลักษณะทางธรรมชาติของแต่ละสาระวิชามาผสมผสานและจัดเป็นการเรียนรู้ให้กับผู้เรียน
   -เน้นการนำความรู้ไปใช้ในการแก้ปัญหาในชีวิตจริง รวมทั้งการพัฒนากระบวนการผลิตใหม่ ที่เป็นประโยชน์ต่อการดำเนินชีวิตและการทำงาน

STEM Education (สะเต็มศึกษา)
   •Science
   •Technology
   •Engineering
   •Mathematics

     Science (วิทยาศาสตร์)
         -การเรียนรู้เรื่องราวของธรรมชาติเช่น ปรากฏการณ์ต่าง ๆ โดยผ่านกระบวนการคิดอย่างเป็นระบบ ซึ่งวิทยาศาสตร์นั้นมีเป้าหมายหลักเพื่อใช้อธิบายกฎเกณฑ์ หรือปรากฏการณ์ต่าง ๆ ตามธรรมชาติโดยใช้หลักและระเบียบวิธีการทางวิทยาศาสตร์
    Technology (เทคโนโลยี)
       -วิทยาการที่นำเอาความรู้ทางวิทยาศาสตร์มาใช้ให้เกิดประโยชน์ในทางปฏิบัติและอุตสาหกรรม 
       -สิ่งที่เราสร้างหรือพัฒนาขึ้นมาเพื่อใช้อำนวยความสะดวกในการดำรงชีวิต
       -ไม่ใช่มีความหมายเพียงแค่คอมพิวเตอร์หรือสื่ออิเล็กทรอนิกส์เท่านั้น แต่หมายรวมไปถึงสิ่งประดิษฐ์ตามยุคสมัยต่าง ๆ อย่างเครื่องใช้ไฟฟ้า หรือรวมไปถึงเครื่องใช้ทั่วไปอย่าง ยางลบ, มีด, กรรไกรกบเหลาดินสอ เป็นต้น
    Engineering (วิศวกรรมศาสตร์)
       -ทักษะกระบวนการในการออกแบบ สร้างแบบ รวมไปถึงการวางแผนเพื่อแก้ไขปัญหา โดยการใช้องค์ความรู้ด้านต่าง ๆ มาสร้างสรรค์ออกแบบผลงานที่ใช้งานได้จริง
       -กระบวนการในการทำงานของวิศวกรรมศาสตร์นั้น สามารถนำมาบูรณาการกับหลักแนวคิดของวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และคณิตศาสตร์ได้ 
       -ช่วยส่งเสริมทำให้เกิดการพัฒนาทางความคิดออกแบบสิ่งต่าง ๆ ได้อย่างสร้างสรรค์มากยิ่งขึ้น
    Mathematic (คณิตศาสตร์)
      -เป็นการเรียนรู้ในเรื่องราวของจำนวน ตัวเลข รูปแบบ ปริมาตร รูปทรงต่างๆ รวมไปถึงแบบรูปและความสัมพันธ์ (พีชคณิต) ฯลฯ
      -ทักษะทางคณิตศาสตร์นี้เป็นทักษะที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้กับทุกแขนงวิชา เพราะเป็นศาสตร์ที่สามารถพิสูจน์ได้ มีความแม่นยำ
      -เรายังสามารถพบคณิตศาสตร์ได้ในชีวิตประจำวันของเราแทบจะทุกที่ทุกเวลาอีกด้วย

“STEM” กับการจัดการเรียนการสอนระดับปฐมวัย
     “STEM” แทรกเข้าไปในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนตามหน่วยที่ครูจัดขึ้น หรือเลือกตามหน่วยที่เด็กสนใจได้อย่างหลากหลาย จะทำให้เด็กสนุกกับการเรียนในห้องมากขึ้น
    การศึกษาแบบ “STEM” เป็นการศึกษาที่ช่วยทำให้เด็กอยากเรียนรู้ด้วยตนเอง เปลี่ยนการเรียนแบบท่องจำมาเป็นการเรียนรู้แบบลงมือทำ ปฏิบัติจริง ทดลอง สืบค้น และใช้วัสดุอุปกรณ์
    ทำให้เด็กได้ใช้ความสามารถของตนเองอย่างเต็มที่ ได้รับความสนุกสนาน และมีความสนใจในวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรม และคณิตศาสตร์ มากยิ่งขึ้น

ตัวอย่างการนำหลัก STEM มาประยุกต์ใช้ในการสอน

STEM นมมาจากไหน

       Science= นมมาจากไหน? นมมีรสชาติอย่างไร
Technology= ไอสกรีมนมสด,นมอัดเม็ด
Engineering= ออกแบบลักษณะกล่องนม
Mathematics= ปริมาณนมในกล่อง,ราคา

STEAM Education
     -การนำ “STEM” มาบูรณาการกับทักษะทางศิลปะ “Art”
     -เพื่อจะทำให้เด็กได้ใช้ความคิดสร้างสรรค์ และมีจินตนาการในการออกแบบชิ้นงานนั้น ๆ ให้มีความสวยงามมากยิ่งขึ้น

STEAM Education (สะตีมศึกษา)
   •Science
   •Technology
   •Engineering
   •Art
   •Mathematics

ตัวอย่างการนำหลัก STEAM มาประยุกต์ใช้ในการสอน (เพิ่ม Art เข้ามา)


STEM นมมาจากไหน

                                        Science =นมมาจากไหน? วัวมีลักษณะแแบไหน?
                                        Technology =นมอัดเม็ด, ไอสกรีมนม
                                        Engineering = ออกแบบกล่องนม, สร้างฟาร์มวัว
                                        Art = วาดรูปวัว, ประดิษฐ์กล่องนม
                                        Mathematics = ราคาของนม, วันหมดอายุของนม

กิจกรรมประดิษฐ์ผีเสื้อ
   โดยนำหลัก STEM / STEAM Education มาใช้ในการเรียนการสอน และบูรณาการให้สอดคล้องกับ 6 กิจกรรมหลัก


อุปกรณ์ในการประดิษฐ์ผีเสื้อ

อุปกรณ์ที่ใช้ประดิษฐ์ 
                                                           1.จานกระดาษ
                                                           2.สีเทียน
                                                           3.กรรไกร
                                                           4.ไม้ไอศกรีม
                                                           5.กาวสองหน้า

    
    ตัดจานกระดาษออกเป็นปีกผีเสื้อให้เท่าๆกัน ตกแต่งปีก และลำตัวด้วยสีเทียน จากนั้นก็นำปีกทั้งสองข้างมาประกบไม้ไอศกรีมโดยใช้กาวสองหน้า เพื่อให้เป็นลำตัวของผีเสื้อ และตกแต่งหนวดจากกระดาษที่เหลือ

ผีเสื้อแสนสวย

กิจกรรมการสร้างที่อยู่ให้ผีเสื้อ
   โดยให้นักศึกษาสร้างกรงผีเสื้อจากวัสดุอุปกรณ์


 อุปกรณ์ที่ใช้ประดิษฐ์
                                                             1.กิ่งไม้แห้ง
                                                             2.ใบไม้และดอกไม้ต่างๆ
                                                             3.เชือก
                                                             4.ผ้าบาง
                                                             5.ของตกแต่งอื่นๆ เช่น ผีเสื้อกระดาษ


ขั้นตอนการทำ
                                    -เริ่มจากการวางแผนว่าจะทำแบบไหน
                                   -สร้างฐานให้มั่นคงโดยการใช้ไม้ท่อนใหญ่ ทำเป็นฐานสามเหลี่ยม
                                   -หาไม้ที่มีความยาวใกล้เคียงกันมาทำเป็นโครงสร้างเพื่อเป็นการยึดฐานให้                                           มั่นคง และใช้เชือกผูกทุกครั้ง
                                  -นำผ้าขาวบางมาหุ้มกรงไม้
                                  -ตกแต่งโดยใช้ใบไม้ และผีเสื้อกระดาษ

กรงผีเสื้อที่เสร็จสมบูรณ์

กิจกรรม Stop Motion
   เป็นกิจกรรมที่ให้นักศึกษาช่วยการสร้างวงจรชีวิตของผีเสื้อโดยการใช้ดินน้ำมันมาปั้นเป็นรูปต่างๆ และใช้เทคโนโลยีเข้าช่วยในการถ่ายทอดวงจรผีเสื้อ

ปั้นดินน้ำมันเป็นรูปต่างๆตามวงจรชีวิต


ถ่ายทำวงจรชีวิตของผีเสื้อน้อย

การนำไปประยุกต์ใช้ 
    สามารถนำความรู้ที่ได้จากกิจกรรมไปประยุกต์ใช้กับเด็กได้จริง และนำไปเป็นแนวทางในการเรียนการสอนเพื่อเกิดประโยชน์ในอนาคต และสามารถนำหลัก STEM / STEAM มาใช้บูรณาการในการใช้ชีวิตของเราได้อย่างถูกต้อง 

ประเมินผล
 ประเมินตนเอง
   ตั้งใจเรียน มีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมต่างๆ ได้คิด จินตนาการ ออกแบบ และมีความสุข สนุกสนานทุกกิจกรรมที่ทำ

 ประเมินเพื่อน
   มีเพื่อนบางส่วนมาเรียนสาย เพื่อนๆตั้งใจเรียน ให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมต่างๆอย่างเต็มที่ และสนุกสนานในการทำกิจกรรม

 ประเมินอาจารย์
   อาจารย์น่ารัก เป็นกันเองกับนักศึกษา สอนเนื้อหาเข้าใจง่าย มีเทคนิคในการสอนใหม่ๆ ทำให้สนุกสนานในการเรียนทุกครั้ง  

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น