วันศุกร์ที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 1

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 1
วันจันทร์ที่ 29 สิงหาคม 2559
เวลาเรียน 8.30-12.30 น.

 เนื้อหาที่เรียน



   ก่อนเริ่มการเรียนการสอน อาจารย์พูดคุยถึงเรื่องข้อตกลง การอธิบายรายวิชา และรายละเอียด หรือส่วนประกอบต่างๆของการทำบล็อค ซึ่งในรายวิชานี้จะมีอาจารย์สอนสองท่านคือ อาจารย์ตฤณ และอาจารย์จินตนา จากนั้นอาจารย์ก็แจกใบปั๊มการเข้าเรียนในแต่ละครั้งให้นักศึกษา

   
   ก่อนเข้าสู่เนื้อหาอาจารย์ก็แจกชีทเพลงภาษาอังกฤษที่สามารถนำมาใช้ในการสอนในอนาคตได้ จากนั้นก็ร้องให้ฟังก่อน 1 รอบ แล้วให้นักศึกษาร้องพร้อมกัน และให้ทำท่าทางประกอบเพลงด้วย


   เข้าสู่เนื้อหาการเรียนการสอน





การจัดประสบการณ์เพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์สำหรับเด็กปฐมวัย

ความหมายของความคิดสร้างสรรค์
  - Jellen and Urban
       ความคิดสร้างสรรค์เป็นการคิดอย่างอิสระในเชิงนวัตกรรม จินตนาการ
  - De Bono
       ความสามารถในการคิดนอกกรอบเพื่อนำมาใช้แก้ปัญหา
  - อุษณีย์  โพธิสุข
       กระบวนการทางปัญญาระดับสูงที่ใช้กระบวนการทางความคิดหลายๆ อย่างมารวมกัน เพื่อสร้างสรรค์สิ่งใหม่หรือแก้ปัญหาที่มีอยู่ให้ดีขึ้น และต้องมีอิสรภาพทางความคิด

คุณค่าของความคิดสร้างสรรค์
  -คุณค่าต่อสังคม
  -คุณค่าต่อตนเอง
  -ทำให้เกิดความสนุกสนาน เพลิดเพลิน
  -ช่วยลดความเครียดทางอารมณ์
  -มีความภูมิใจและเชื่อมั่นในตนเอง
  -นำมาซึ่งความเป็นผู้นำ
  -ตะหนักถึงคุณค่าของตนเอง
  -ช่วยส่งเสริมสุนทรียภาพ

องค์ประกอบของความคิดสร้างสรรค์
   Guilford ได้แบ่งองค์ประกอบของความคิดสร้างสรรค์เป็น 4 ด้าน
1. ความคิดคล่องแคล่ว (Fluency)
2. ความคิดริเริ่ม (Originality)
3. ความคิดยืดหยุ่น (Flexibility)
4. ความคิดละเอียดลออ (Elaboration)

พัฒนาการทางความคิดสร้างสรรค์
Torrance ได้แบ่งออกเป็น 3 ระยะ
   •ระยะแรกเกิด – 2 ขวบ
   •ระยะ 2 -4 ขวบ
   •ระยะ 4-6 ขวบ

แรกเกิด-2ปี มีจินตนาการ สำรวจสิ่งแวดล้อมรอบตัว
2-4 ปี ตื่นตัวกับสิ่งใหม่ ใช้จินตนาการกับการเล่น ยึดตัวเองเป็นศูนย์กลาง ช่วงความสนใจสั้น
4-6 ปี สนุกกับการวางแผน การเล่น การทำงาน ชอบเล่นสมมติเชื่อมโยงสิ่งต่างๆได้ แต่จะเข้าใจเหตุและผลได้ไม่ดีนัก

ลำดับขั้นของพัฒนาการทางความคิดสร้างสรรค์
 Torrance ได้แบ่งเป็น 5 ขั้น
   ขั้นที่ 1 แสดงออกอย่างอิสระทางความคิด ไม่คำนึงถึงคุณภาพ
   ขั้นที่ 2 งานที่ผลิตต้องอาศัยทักษะบางอย่าง
   ขั้นที่ 3 ประดิษฐ์สิ่งใหม่ๆโดยไม่ซ้ำใคร
   ขั้นที่ 4 ปรับปรุงขั้นที่ 3
   ขั้นที่ 5 คิดสิ่งที่เป็นนามธรรมขั้นสูงสุด คิดหลักการใหม่ๆ

ประโยชน์ของความคิดสร้างสรรค์
-ก่อให้เกิดสิ่งแปลกใหม่
-อำนวยประโยชน์สุขให้แก่บุคคล
-ช่วยให้เข้าใจปัญหาและแก้ปัญหาได้ดี
-ช่วยให้บุคคลประสบความสำเร็จ
-ช่วยให้ปรับตัวได้ดี

แนวคิดทฤษฎีทางความคิดสร้างสรรค์
 ทฤษฎี Guilford
  อธิบายความสามารถของสมองมนุษย์เป็นแบบจำลอง 3 มิติ
    มิติที่ 1  เนื้อหา คือ ข้อมูลหรือสิ่งเร้าที่เป็นสื่อในการคิด
    มิติที่ 2  วิธีคิด คือ กระบวนการทำงานของสมอง
    มิติที่ 3  ผลของการคิด คือ การตอบสนองต่อข้อมูลหรือสิ่งเร้า
 ทฤษฎี Constructivism
   •เด็กเรียนรู้เอง
   •เด็กคิดเอง
   •ครูกับเด็กเรียนรู้ไปด้วยกัน
  •สร้างองค์ความรู้ใหม่ด้วยตนเอง
 ทฤษฎีของ Torrance
   ความคิดสร้างสรรค์เป็นกระบวนการของความรู้สึกต่อปัญหา แล้วรวบรวมความคิดตั้งเป็นสมมติฐาน และเผยแพร่ผลที่ได้จากการทดสอบ
     ขั้นที่ 1 การพบความจริง
     ขั้นที่ 2 การค้นพบปัญหา
     ขั้นที่ 3 การตั้งสมมติฐาน
     ขั้นที่ 4 การค้นพบคำตอบ
     ขั้นที่ 5 ยอมรับผล

บรรยากาศที่ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์
  -เด็กรู้สึกปลอดภัย
  -ให้เด็กได้ลองเล่นคนเดียว
  -ได้สำรวจ ค้นคว้า และสร้างสรรค์ด้วยตนเอง
  -ขจัดอุปสรรค
  -ไม่มีการแข่งขัน
  -ให้ความสนใจเด็ก

ลักษณะของเด็กที่มีความคิดสร้างสรรค์
  -มีไหวพริบ
  -กล้าแสดงออก
  -อยากรู้อยากเห็น
  -ช่างสังเกต
  -มีอารมณ์ขัน
  -มีสมาธิ
  -รักอิสระ

กิจกรรมที่ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์
 Torrance ได้กล่าวถึงลักษณะของกิจกรรมที่ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ไว้ 3 ลักษณะ
     ลักษณะที่ 1 ความไม่สมบูรณ์ การเปิดกว้าง  (Incompleteness, Openness)
     ลักษณะที่ 2 การสร้างบางอย่างขึ้นมา และนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์ (Producing Something and Using It)
      ลักษณะที่ 3 การใช้คำถามของเด็ก (Using Pupil Question)
          1. คำถามที่ส่งเสริมความคิดคล่องแคล่ว
                   -คิดให้ได้มากที่สุด
          2. คำถามที่ส่งเสริมความคิดริเริ่ม
                   -คิดหรือทำสิ่งที่ไม่เคยมีใครคิดหรือทำมาก่อน
          3. คำถามที่ส่งเสริมความคิดยืดหยุ่น
                   -ได้คำตอบที่หลากหลาย
          4. คำถามที่ส่งเสริมความคิดละเอียดลออ
                   -คิดให้เห็นรายละเอียดปลีกย่อยต่างๆ

                                                          การตั้งคำถาม 5W1H
Who ใคร     What อะไร     Where ที่ไหน     When เมื่อไหร่     Why ทำไม     How อย่างไร

** ความคิดสร้างสรรค์ไม่สามารถบังคับให้เกิดขึ้นได้ แต่สามารถส่งเสริมให้เกิดขึ้นได้ **

   หลังจากเรียนเนื้อหาเสร็จแล้วอาจารย์ก็ให้นักศึกษา"รู้จักคิดนอกกรอบ"โดยอาจารย์กำหนดจุดขึ้นมา 9 จุด แล้วให้นักศึกษาลากเส้นไปตามแนว หรือทิศทางใดก็ได้ให้ครบทุกจุด โดยไม่ต้องยกมือในระหว่างลากเส้น

           

   กิจกรรมต่อไปเป็นกิจกรรมพับจรวด
อาจารย์ให้กระดาษ A4 คนละแผ่น แล้วให้นักศึกษาพับจรวดอย่างไรก็ได้ให้จรวดร่อนได้ไกลที่สุด โดยอาจารย์มีกล่องตั้งอยู่ 1 กล่อง แล้วให้นักศึกษายืนที่จุดยืน แล้วปาจรวดให้บินร่อนลงกล่อง

จรวดของฉัน

ตัวอย่างกิจกรรม 


   
กิจกรรมลากเส้นตามจินตนาการ
   อาจารย์ให้นักศึกษาจับคู่ แล้วให้อุปกรณ์ในการลากเส้นคือ สีเทียน และกระดาษคู่ละ 1 แผ่น โดยอาจารย์จะเปิดเพลงให้นักศึกษาฟัง แล้วให้ใช้สีเทียนลากเส้นไปเรื่อยๆตามอารมณ์เพลง โดยไม่ยกมือขึ้นในระหว่างที่ลากเส้น

อุปกรณ์

ลากเส้นโดยใช้สีเขียว

เติมจุดตามช่อง

ตกแต่ง จินตนาว่าเป็นรูปคน และของเพื่อนเป็นรูปเลื่อยตัดไม้

นำเสนอผลงานงานด้วยตัวเอง

ผลงานของเพื่อนๆทุกคน

 การประยุกต์ใช้
   สามารถนำมาประยุกต์ใช้ หรือดัดเเปลง หรือเป็นแนวทางในการจัดการเรียนการสอนได้ในทุกระดับ เป็นประโยชน์ในการศึกษาต่อในอนาคต และได้ทักษะในการคิดสร้างสรรค์ จินตนาการ

ประเมินผล
  ประเมินตนเอง
    ไม่ค่อยสบาย แต่ก็มาเข้าเรียนตรงเวลา ตั้งใจเรียน พยายามฟังที่อาจารย์สอนให้เข้าใจ มีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมต่างๆ ได้ทักษะในการคิดสร้างสรรค์ จินตนาการ และเป็นตัวแทนเพื่อนนำเสนอผลงาน

  ประเมินเพื่อน
    เพื่อนๆ ตั้งใจเรียน ไม่พูดคุยเสียงดัง ให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมต่างๆ ทุกคนช่วยกันตอบคำถาม และทำกิจกรรมต่างๆอย่างสนุกสนาน

  ประเมินอาจารย์
    อาจารย์เข้าสอนตรงเวลา แต่งกายสุภาพ เป็นกันเองกับนักศึกษา มีอุปกรณ์การเรียนการสอนครบครัน และสอนเนื้อหาเข้าใจง่าย โดยอาจารย์จะยกตัวอย่างประกอบเสมอเพื่อให้เกิดความเข้าใจที่ง่ายขึ้น



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น