วันศุกร์ที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 2

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 2
วันจันทร์ที่ 5 กันยายน 2559
เวลาเรียน 8.30-12.30 น.

เนื้อหาที่เรียน
  ก่อนเข้าสู่การเรียนอาจารย์ให้นักศึกษาลิงค์บล็อกของแต่ละคน จบครบทุกคน แล้วก็ทบทวนการร้องเพลงจากสัปดาห์ที่แล้ว จากนั้นอาจารย์ก็เปิดวิดิโอสะท้อนสังคมไทยในการใช้รถโดยสารให้ดู


วิดิโอสะท้อนสังคมไทยในการใช้รถโดยสาร

กิจกรรมก่อนเรียน "กิจกรรม Marshmallow Tower"


   โดยอาจารย์ให้นักศึกษาแบ่งกลุ่ม กลุ่มละ 5-6 คน แล้วให้ใช้อุปกรณ์ที่แจกให้คือ ไม้จิ้มฟันกับดินน้ำมัน ต่อกันให้สูงที่สุด

อาจารย์แจกอุปกรณ์ตามกลุ่ม

อุปกรณ์ประกอบด้วย ดินน้ำมัน ไม้จิ้มฟัน และกระดาษ

ช่วยกันสร้าง

สร้างครั้งเเรกสูง 22 ซม.

สร้างครั้งที่ 2  สูง 48 ซม. สูงมากกว่าครั้งแรก

สร้างครั้งที่ 3 สูง 53.5 ซม.  สูงกว่าครั้งแรก และครั้งที่ 2

  >> จากกิจกรรมได้เรียนรู้โดยใช้ประสบการณ์ โดยครั้งแรกยังไม่มีประสบการณ์ ครั้งที่ 2เริ่มสูงกว่าครั้งแรกเพราะมีประสบการณ์การสร้างครั้งแรกแล้ว พอครั้งที่ 3 สร้างได้สูงกว่าสองครั้งที่ผ่านมา เพราะได้ลงมือทำหรือได้ประสบการณ์เดิมจากทั้งสองครั้งแล้ว<<

เนื้อหาสาระการเรียนรู้
   การเล่นเพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์
การเล่น เป็น กระบวนการเรียนรู้ และประสบการณ์ที่เด็กได้รับ ทำให้เด็กเกิดความสนุกเพลิดเพลิน ผ่อนคลาย และปรับตัวให้เข้ากับเพื่อนและสิ่งแวดล้อม
แนวคิดและทฤษฎีเกี่ยวกับการเล่น

Piaget
กล่าวถึงพัฒนาการการเล่นของเด็กว่ามี 3 ขั้น ดังนี้
    1. ขั้นการเล่นโดยใช้ประสาทสัมผัส(Sensorimotor Play)
         -สำรวจ จับต้องวัตถุ
         -ยุติลงเมื่อเด็ก 2 ขวบ
    2. ขั้นการเล่นสร้างสรรค์ (Constructive Play)
         -อายุ 1 ½ - 2 ปี
         -การเล่นที่ไม่มีขอบเขตจำกัด
         -เล่นด้วยความพอใจมากกว่าคำนึงถึงความเป็นจริง
    3. ขั้นการเล่นที่ใช้สัญลักษณ์ (Symbolic Play)
         -2 ขวบขึ้นไป
         -สามารถพัฒนาการเต็มที่เมื่ออายุ 3-4 ขวบ
         -เกิดขึ้นเมื่อเด็กสามารถจำและสมมติสิ่งของเครื่องเล่นต่างๆที่ไม่มีอยู่ที่นั่น
         -ลักษณะการเล่นที่ใช้สัญลักษณ์ที่นับว่าเป็นพัฒนาการสูงสุด คือ การเล่นบทบาทสมมติ

ประเภทของการเล่นเพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์
  1.การเล่นกลางแจ้ง
  2.การเล่นในร่ม
         -การเล่นตามมุมประสบการณ์
         -การเล่นสรรค์สร้าง

การเล่นสรรค์สร้าง
   -การเล่นที่ให้โอกาสเด็กคิดค้นวิธีเล่นอย่างอิสระ และเล่นได้หลายวิธี
   -ใช้ความคิดพลิกแพลงวิธีเล่นให้แตกต่างไปจากเดิม
   -เด็กเกิดความรู้ความเข้าใจด้วยตนเอง

องค์ประกอบของการเล่นสรรค์สร้าง
 1. สภาวะการเรียนรู้
  เนื้อหาของสาระการให้ความรู้แก่เด็กโดยจัดสถานการณ์ให้เด็กเกิดการเรียนรู้
      -การเรียนรู้คุณลักษณะและความเหมือน
      -การเรียนรู้เกี่ยวกับการปรับตัวให้เข้ากับสิ่งของและผู้อื่น
      -การเรียนรู้และจินตนาการเกี่ยวกับการเคลื่อนไหว
      -การเรียนรู้เหตุและผล
การเรียนรู้คุณลักษณะและความเหมือน




การเรียนรู้และจินตนาการเกี่ยวกับการเคลื่อนไหว


การเรียนรู้เหตุและผล


การเรียนรู้เหตุและผล

 2. พัฒนาการของการรู้คิด
   ต้องจัดกิจกรรมให้เหมาะสมกับพัฒนาการของเด็ก


 3. กระบวนการเรียนและกระบวนการสอน
      -กระบวนการเรียนรู้
      -กระบวนการจัดประสบการณ์เพื่อการเรียนรู้

กระบวนการจัดประสบการณ์เพื่อการเรียนรู้
   -เปลี่ยนแปลงโดยไม่ต้องสับเปลี่ยน
   - การเรียนรู้เกี่ยวกับตรงกลาง
   -การจำแนกอย่างมีเหตุผล

หลักการจัดกิจกรรมการเล่นสรรค์สร้าง
   -ศึกษาสภาพของเด็กและกำหนดขอบข่ายความสามารถของเด็ก
   -ศึกษาสภาพแวดล้อม จัดเตรียมสื่อและกิจกรรมให้เหมาะสม
   -มีส่วนร่วมกับเด็กในจังหวะเวลาที่เหมาะสม
   -มีการสรุปท้ายกิจกรรม

เล่นเกม "ไร่สตอเบอรี่"
  โดยอาจารย์สมมุติเหตุการณ์ขึ้นมา คือให้จินตนาการถึงไร่สตอเบอรี่ ถ้าเราเข้าไปอยู่ในเหตุการณ์เราจะทำอย่างไร

กิจกรรม"เรือน้อยบรรทุกของ"
   ให้แต่ละกลุ่มใช้อุปกรณ์ที่มีอยู่สร้างเรือให้บรรทุกของให้ได้มากที่สุด โดยอุปกรณ์คือ 
          1. กระดาษ 1 แผ่น 
          2.ยาง 4 เส้น 
          3.หลอดดูดน้ำ 4 หลอด


อุปกรณ์ในการสร้างเรือน้อยบรรทุกของ

พับกระดาษทั้ง 4 ด้านเข้าหากันโดยให้เหลือพื้นที่ว่างสำหรับใส่ของบรรทุกให้เป็นรูปสี่เหลี่ยม แล้วใช้หลอดรองก้นกระดาษมัดติดกับยางรัด เพื่อพยุงกระดาษไว้ไม่ให้เปียกน้ำ

                                       ด้านหน้า                                           ด้านหลัง

เรือของเพื่อนแต่ละกลุ่ม

ตัวอย่างเรือบรรทุกของ

   >>สิ่งที่ได้จากกิจกรรมนี้คือ ได้รู้จักการวางแผน ได้ทักษะในการคิด การวิเคราะห์ และการวางโครงสร้าง<<

กิจกรรม "ดีไซเนอร์ระดับโลก"


   เป็นกิจกรรมที่ให้นักศึกษาแต่ละกลุ่มระดมความคิดในการออกแบบชุด โดยจะต้องใช้ "หนังสือพิมพ์" ในการทำชุด และเงื่อนไขในการทำชุดจะต้องประกอบด้วย
    1.เครื่องประดับศีรษะ
    2.เสื้อไหล่
    3.เครื่องประดับเเขนและนิ้ว
    4.กางเกง/กระโปรง/ผ้านุ่ง
    5.แผงหลัง
    6.รองเท้า
    7.อื่นๆ
โดยใช้เกณฑ์ในการออกแบบคือ มโหฬาร ยิ่งใหญ่ ใส่ใจองค์ประกอบ ครอบคลุมความหมาย

แต่ละกลุ่มช่วยกันระดมความคิด

เพื่อนๆช่วยกันออกแบบชุดกลุ่มของตัวเอง

กลุ่มของฉัน

นางแบบของแต่ละกลุ่ม

ให้แต่ละกลุ่มออกมาพูดถึงแรงบันดาลใจในการทำชุด

  >> จากกิจกรรมนี้ทำให้ได้ทักษะในการคิดสร้างสรรค์ การออกแบบ รวมถึงการทำงานร่วมกันภายในกลุ่ม<<

การนำไปประยุกต์ใช้
   ได้ความรู้ในเรื่องของความคิดสร้างสรรค์ จินตนาการ การได้ฝึกใช้ความคิดที่หลากหลาย ทั้งในการแก้ไขปัญหาต่างๆ การประยุกต์ขึ้นมาใหม่ จากกิจกรรมที่เรียนในวันนี้สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอนในอนาคต และยังเป็นประโยชน์ต่อการเรียนรู้เพื่อเพิ่มพูนประสบการณ์

ประเมินผล
 ประเมินตัวเอง
   แต่งกายสุภาพเรียบร้อย ตั้งใจเรียน ตั้งใจทำกิจกรรมในห้องเรียน ได้ทักษะในการทำกิจกรรมอย่างหลากหลายจากการเรียนการสอนในวันนี้ มีความสุข สนุกสนาน

 ประเมินเพื่อน
   เพื่อนๆสนุกสนานในการทำกิจกรรม ตั้งใจเรียน ตั้งใจฟังอาจารย์สอน มีความสามัคคีในการทำกิจกรรมร่วมกัน และให้ความร่วมมือในการทำงานต่างๆ

 ประเมินอาจารย์
   อาจารย์มีการเตรียมการเรียนการสอนมาดี มีอุปกรณ์ครบครันในการทำกิจกรรมต่างๆเสมอ อาจารย์มีความเป็นมิตร เป็นกันเองกับนักศึกษา และให้คำชี้แนะ คำปรึกษา แนะนำที่ดีเสมอ




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น