วันศุกร์ที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2559

Creative Thinking
"STEM & STEAM"


หน่วยบ้าน


ที่
กิจกรรม
STEM & STEAM
แนวคิด

1

ถ่ายภาพ

Science/Art/Technology

สิ่งแวดล้อมรอบบ้าน

2

สร้างบ้าน

Mathematics/Art/Engineering

ลักษณะของบ้าน

3

แต่งนิทาน
เรื่อง บ้านของฉัน

Art/ Language

การดูแลรักษา

4

ธนาคารคำ

Art/ Language

คำศัพท์และองค์ความรู้
เกี่ยวกับบ้าน

5

คำคล้องจองบ้าน

Language/Art

ประโยชน์ของบ้าน

6

โมเดลบ้าน

Engineering/Science/Technology

องค์ประกอบภายในบ้าน





บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 5

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 5
วันจันทร์ที่ 26 กันยายน 2559
เวลาเรียน 8.30-12.30 น.


**สอบกลางภาค (Midterm Exam)**

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 4

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 4
วันจันทร์ที่ 19 กันยายน 2559
เวลาเรียน 8.30-12.30 น.


**ไม่มีการเรียนการสอนเนื่องจากอาจารย์ติดประชุม แต่มอบหมายงานไว้ให้ทำ**

งานที่ได้รับมอบหมาย


หน่วยบ้าน




บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 3

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 3
วันจันทร์ที่ 12 กันยายน 2559
เวลาเรียน 8.30-12.30 น.

   เนื้อหาที่เรียน
    วันนี้เป็นการเรียนร่วมกันของ 2 เซค ก่อนเข้าสู่เนื้อหาการเรียนการสอนอาจารย์ให้นักศึกษาร้องเพลงภาษาอังกฤษ เป็นการทบทวนจากสัปดาห์ที่แล้ว เพื่อผ่อนคลายก่อนการเรียน



เนื้อหาการเรียนรู้
   เรื่อง STEM / STEAM Education


STEM” คืออะไร
   -เป็นการจัดการศึกษาแบบบูรณาการความรู้ทางวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรมศาสตร์ และคณิตศาสตร์
   -นำลักษณะทางธรรมชาติของแต่ละสาระวิชามาผสมผสานและจัดเป็นการเรียนรู้ให้กับผู้เรียน
   -เน้นการนำความรู้ไปใช้ในการแก้ปัญหาในชีวิตจริง รวมทั้งการพัฒนากระบวนการผลิตใหม่ ที่เป็นประโยชน์ต่อการดำเนินชีวิตและการทำงาน

STEM Education (สะเต็มศึกษา)
   •Science
   •Technology
   •Engineering
   •Mathematics

     Science (วิทยาศาสตร์)
         -การเรียนรู้เรื่องราวของธรรมชาติเช่น ปรากฏการณ์ต่าง ๆ โดยผ่านกระบวนการคิดอย่างเป็นระบบ ซึ่งวิทยาศาสตร์นั้นมีเป้าหมายหลักเพื่อใช้อธิบายกฎเกณฑ์ หรือปรากฏการณ์ต่าง ๆ ตามธรรมชาติโดยใช้หลักและระเบียบวิธีการทางวิทยาศาสตร์
    Technology (เทคโนโลยี)
       -วิทยาการที่นำเอาความรู้ทางวิทยาศาสตร์มาใช้ให้เกิดประโยชน์ในทางปฏิบัติและอุตสาหกรรม 
       -สิ่งที่เราสร้างหรือพัฒนาขึ้นมาเพื่อใช้อำนวยความสะดวกในการดำรงชีวิต
       -ไม่ใช่มีความหมายเพียงแค่คอมพิวเตอร์หรือสื่ออิเล็กทรอนิกส์เท่านั้น แต่หมายรวมไปถึงสิ่งประดิษฐ์ตามยุคสมัยต่าง ๆ อย่างเครื่องใช้ไฟฟ้า หรือรวมไปถึงเครื่องใช้ทั่วไปอย่าง ยางลบ, มีด, กรรไกรกบเหลาดินสอ เป็นต้น
    Engineering (วิศวกรรมศาสตร์)
       -ทักษะกระบวนการในการออกแบบ สร้างแบบ รวมไปถึงการวางแผนเพื่อแก้ไขปัญหา โดยการใช้องค์ความรู้ด้านต่าง ๆ มาสร้างสรรค์ออกแบบผลงานที่ใช้งานได้จริง
       -กระบวนการในการทำงานของวิศวกรรมศาสตร์นั้น สามารถนำมาบูรณาการกับหลักแนวคิดของวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และคณิตศาสตร์ได้ 
       -ช่วยส่งเสริมทำให้เกิดการพัฒนาทางความคิดออกแบบสิ่งต่าง ๆ ได้อย่างสร้างสรรค์มากยิ่งขึ้น
    Mathematic (คณิตศาสตร์)
      -เป็นการเรียนรู้ในเรื่องราวของจำนวน ตัวเลข รูปแบบ ปริมาตร รูปทรงต่างๆ รวมไปถึงแบบรูปและความสัมพันธ์ (พีชคณิต) ฯลฯ
      -ทักษะทางคณิตศาสตร์นี้เป็นทักษะที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้กับทุกแขนงวิชา เพราะเป็นศาสตร์ที่สามารถพิสูจน์ได้ มีความแม่นยำ
      -เรายังสามารถพบคณิตศาสตร์ได้ในชีวิตประจำวันของเราแทบจะทุกที่ทุกเวลาอีกด้วย

“STEM” กับการจัดการเรียนการสอนระดับปฐมวัย
     “STEM” แทรกเข้าไปในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนตามหน่วยที่ครูจัดขึ้น หรือเลือกตามหน่วยที่เด็กสนใจได้อย่างหลากหลาย จะทำให้เด็กสนุกกับการเรียนในห้องมากขึ้น
    การศึกษาแบบ “STEM” เป็นการศึกษาที่ช่วยทำให้เด็กอยากเรียนรู้ด้วยตนเอง เปลี่ยนการเรียนแบบท่องจำมาเป็นการเรียนรู้แบบลงมือทำ ปฏิบัติจริง ทดลอง สืบค้น และใช้วัสดุอุปกรณ์
    ทำให้เด็กได้ใช้ความสามารถของตนเองอย่างเต็มที่ ได้รับความสนุกสนาน และมีความสนใจในวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรม และคณิตศาสตร์ มากยิ่งขึ้น

ตัวอย่างการนำหลัก STEM มาประยุกต์ใช้ในการสอน

STEM นมมาจากไหน

       Science= นมมาจากไหน? นมมีรสชาติอย่างไร
Technology= ไอสกรีมนมสด,นมอัดเม็ด
Engineering= ออกแบบลักษณะกล่องนม
Mathematics= ปริมาณนมในกล่อง,ราคา

STEAM Education
     -การนำ “STEM” มาบูรณาการกับทักษะทางศิลปะ “Art”
     -เพื่อจะทำให้เด็กได้ใช้ความคิดสร้างสรรค์ และมีจินตนาการในการออกแบบชิ้นงานนั้น ๆ ให้มีความสวยงามมากยิ่งขึ้น

STEAM Education (สะตีมศึกษา)
   •Science
   •Technology
   •Engineering
   •Art
   •Mathematics

ตัวอย่างการนำหลัก STEAM มาประยุกต์ใช้ในการสอน (เพิ่ม Art เข้ามา)


STEM นมมาจากไหน

                                        Science =นมมาจากไหน? วัวมีลักษณะแแบไหน?
                                        Technology =นมอัดเม็ด, ไอสกรีมนม
                                        Engineering = ออกแบบกล่องนม, สร้างฟาร์มวัว
                                        Art = วาดรูปวัว, ประดิษฐ์กล่องนม
                                        Mathematics = ราคาของนม, วันหมดอายุของนม

กิจกรรมประดิษฐ์ผีเสื้อ
   โดยนำหลัก STEM / STEAM Education มาใช้ในการเรียนการสอน และบูรณาการให้สอดคล้องกับ 6 กิจกรรมหลัก


อุปกรณ์ในการประดิษฐ์ผีเสื้อ

อุปกรณ์ที่ใช้ประดิษฐ์ 
                                                           1.จานกระดาษ
                                                           2.สีเทียน
                                                           3.กรรไกร
                                                           4.ไม้ไอศกรีม
                                                           5.กาวสองหน้า

    
    ตัดจานกระดาษออกเป็นปีกผีเสื้อให้เท่าๆกัน ตกแต่งปีก และลำตัวด้วยสีเทียน จากนั้นก็นำปีกทั้งสองข้างมาประกบไม้ไอศกรีมโดยใช้กาวสองหน้า เพื่อให้เป็นลำตัวของผีเสื้อ และตกแต่งหนวดจากกระดาษที่เหลือ

ผีเสื้อแสนสวย

กิจกรรมการสร้างที่อยู่ให้ผีเสื้อ
   โดยให้นักศึกษาสร้างกรงผีเสื้อจากวัสดุอุปกรณ์


 อุปกรณ์ที่ใช้ประดิษฐ์
                                                             1.กิ่งไม้แห้ง
                                                             2.ใบไม้และดอกไม้ต่างๆ
                                                             3.เชือก
                                                             4.ผ้าบาง
                                                             5.ของตกแต่งอื่นๆ เช่น ผีเสื้อกระดาษ


ขั้นตอนการทำ
                                    -เริ่มจากการวางแผนว่าจะทำแบบไหน
                                   -สร้างฐานให้มั่นคงโดยการใช้ไม้ท่อนใหญ่ ทำเป็นฐานสามเหลี่ยม
                                   -หาไม้ที่มีความยาวใกล้เคียงกันมาทำเป็นโครงสร้างเพื่อเป็นการยึดฐานให้                                           มั่นคง และใช้เชือกผูกทุกครั้ง
                                  -นำผ้าขาวบางมาหุ้มกรงไม้
                                  -ตกแต่งโดยใช้ใบไม้ และผีเสื้อกระดาษ

กรงผีเสื้อที่เสร็จสมบูรณ์

กิจกรรม Stop Motion
   เป็นกิจกรรมที่ให้นักศึกษาช่วยการสร้างวงจรชีวิตของผีเสื้อโดยการใช้ดินน้ำมันมาปั้นเป็นรูปต่างๆ และใช้เทคโนโลยีเข้าช่วยในการถ่ายทอดวงจรผีเสื้อ

ปั้นดินน้ำมันเป็นรูปต่างๆตามวงจรชีวิต


ถ่ายทำวงจรชีวิตของผีเสื้อน้อย

การนำไปประยุกต์ใช้ 
    สามารถนำความรู้ที่ได้จากกิจกรรมไปประยุกต์ใช้กับเด็กได้จริง และนำไปเป็นแนวทางในการเรียนการสอนเพื่อเกิดประโยชน์ในอนาคต และสามารถนำหลัก STEM / STEAM มาใช้บูรณาการในการใช้ชีวิตของเราได้อย่างถูกต้อง 

ประเมินผล
 ประเมินตนเอง
   ตั้งใจเรียน มีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมต่างๆ ได้คิด จินตนาการ ออกแบบ และมีความสุข สนุกสนานทุกกิจกรรมที่ทำ

 ประเมินเพื่อน
   มีเพื่อนบางส่วนมาเรียนสาย เพื่อนๆตั้งใจเรียน ให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมต่างๆอย่างเต็มที่ และสนุกสนานในการทำกิจกรรม

 ประเมินอาจารย์
   อาจารย์น่ารัก เป็นกันเองกับนักศึกษา สอนเนื้อหาเข้าใจง่าย มีเทคนิคในการสอนใหม่ๆ ทำให้สนุกสนานในการเรียนทุกครั้ง  

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 2

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 2
วันจันทร์ที่ 5 กันยายน 2559
เวลาเรียน 8.30-12.30 น.

เนื้อหาที่เรียน
  ก่อนเข้าสู่การเรียนอาจารย์ให้นักศึกษาลิงค์บล็อกของแต่ละคน จบครบทุกคน แล้วก็ทบทวนการร้องเพลงจากสัปดาห์ที่แล้ว จากนั้นอาจารย์ก็เปิดวิดิโอสะท้อนสังคมไทยในการใช้รถโดยสารให้ดู


วิดิโอสะท้อนสังคมไทยในการใช้รถโดยสาร

กิจกรรมก่อนเรียน "กิจกรรม Marshmallow Tower"


   โดยอาจารย์ให้นักศึกษาแบ่งกลุ่ม กลุ่มละ 5-6 คน แล้วให้ใช้อุปกรณ์ที่แจกให้คือ ไม้จิ้มฟันกับดินน้ำมัน ต่อกันให้สูงที่สุด

อาจารย์แจกอุปกรณ์ตามกลุ่ม

อุปกรณ์ประกอบด้วย ดินน้ำมัน ไม้จิ้มฟัน และกระดาษ

ช่วยกันสร้าง

สร้างครั้งเเรกสูง 22 ซม.

สร้างครั้งที่ 2  สูง 48 ซม. สูงมากกว่าครั้งแรก

สร้างครั้งที่ 3 สูง 53.5 ซม.  สูงกว่าครั้งแรก และครั้งที่ 2

  >> จากกิจกรรมได้เรียนรู้โดยใช้ประสบการณ์ โดยครั้งแรกยังไม่มีประสบการณ์ ครั้งที่ 2เริ่มสูงกว่าครั้งแรกเพราะมีประสบการณ์การสร้างครั้งแรกแล้ว พอครั้งที่ 3 สร้างได้สูงกว่าสองครั้งที่ผ่านมา เพราะได้ลงมือทำหรือได้ประสบการณ์เดิมจากทั้งสองครั้งแล้ว<<

เนื้อหาสาระการเรียนรู้
   การเล่นเพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์
การเล่น เป็น กระบวนการเรียนรู้ และประสบการณ์ที่เด็กได้รับ ทำให้เด็กเกิดความสนุกเพลิดเพลิน ผ่อนคลาย และปรับตัวให้เข้ากับเพื่อนและสิ่งแวดล้อม
แนวคิดและทฤษฎีเกี่ยวกับการเล่น

Piaget
กล่าวถึงพัฒนาการการเล่นของเด็กว่ามี 3 ขั้น ดังนี้
    1. ขั้นการเล่นโดยใช้ประสาทสัมผัส(Sensorimotor Play)
         -สำรวจ จับต้องวัตถุ
         -ยุติลงเมื่อเด็ก 2 ขวบ
    2. ขั้นการเล่นสร้างสรรค์ (Constructive Play)
         -อายุ 1 ½ - 2 ปี
         -การเล่นที่ไม่มีขอบเขตจำกัด
         -เล่นด้วยความพอใจมากกว่าคำนึงถึงความเป็นจริง
    3. ขั้นการเล่นที่ใช้สัญลักษณ์ (Symbolic Play)
         -2 ขวบขึ้นไป
         -สามารถพัฒนาการเต็มที่เมื่ออายุ 3-4 ขวบ
         -เกิดขึ้นเมื่อเด็กสามารถจำและสมมติสิ่งของเครื่องเล่นต่างๆที่ไม่มีอยู่ที่นั่น
         -ลักษณะการเล่นที่ใช้สัญลักษณ์ที่นับว่าเป็นพัฒนาการสูงสุด คือ การเล่นบทบาทสมมติ

ประเภทของการเล่นเพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์
  1.การเล่นกลางแจ้ง
  2.การเล่นในร่ม
         -การเล่นตามมุมประสบการณ์
         -การเล่นสรรค์สร้าง

การเล่นสรรค์สร้าง
   -การเล่นที่ให้โอกาสเด็กคิดค้นวิธีเล่นอย่างอิสระ และเล่นได้หลายวิธี
   -ใช้ความคิดพลิกแพลงวิธีเล่นให้แตกต่างไปจากเดิม
   -เด็กเกิดความรู้ความเข้าใจด้วยตนเอง

องค์ประกอบของการเล่นสรรค์สร้าง
 1. สภาวะการเรียนรู้
  เนื้อหาของสาระการให้ความรู้แก่เด็กโดยจัดสถานการณ์ให้เด็กเกิดการเรียนรู้
      -การเรียนรู้คุณลักษณะและความเหมือน
      -การเรียนรู้เกี่ยวกับการปรับตัวให้เข้ากับสิ่งของและผู้อื่น
      -การเรียนรู้และจินตนาการเกี่ยวกับการเคลื่อนไหว
      -การเรียนรู้เหตุและผล
การเรียนรู้คุณลักษณะและความเหมือน




การเรียนรู้และจินตนาการเกี่ยวกับการเคลื่อนไหว


การเรียนรู้เหตุและผล


การเรียนรู้เหตุและผล

 2. พัฒนาการของการรู้คิด
   ต้องจัดกิจกรรมให้เหมาะสมกับพัฒนาการของเด็ก


 3. กระบวนการเรียนและกระบวนการสอน
      -กระบวนการเรียนรู้
      -กระบวนการจัดประสบการณ์เพื่อการเรียนรู้

กระบวนการจัดประสบการณ์เพื่อการเรียนรู้
   -เปลี่ยนแปลงโดยไม่ต้องสับเปลี่ยน
   - การเรียนรู้เกี่ยวกับตรงกลาง
   -การจำแนกอย่างมีเหตุผล

หลักการจัดกิจกรรมการเล่นสรรค์สร้าง
   -ศึกษาสภาพของเด็กและกำหนดขอบข่ายความสามารถของเด็ก
   -ศึกษาสภาพแวดล้อม จัดเตรียมสื่อและกิจกรรมให้เหมาะสม
   -มีส่วนร่วมกับเด็กในจังหวะเวลาที่เหมาะสม
   -มีการสรุปท้ายกิจกรรม

เล่นเกม "ไร่สตอเบอรี่"
  โดยอาจารย์สมมุติเหตุการณ์ขึ้นมา คือให้จินตนาการถึงไร่สตอเบอรี่ ถ้าเราเข้าไปอยู่ในเหตุการณ์เราจะทำอย่างไร

กิจกรรม"เรือน้อยบรรทุกของ"
   ให้แต่ละกลุ่มใช้อุปกรณ์ที่มีอยู่สร้างเรือให้บรรทุกของให้ได้มากที่สุด โดยอุปกรณ์คือ 
          1. กระดาษ 1 แผ่น 
          2.ยาง 4 เส้น 
          3.หลอดดูดน้ำ 4 หลอด


อุปกรณ์ในการสร้างเรือน้อยบรรทุกของ

พับกระดาษทั้ง 4 ด้านเข้าหากันโดยให้เหลือพื้นที่ว่างสำหรับใส่ของบรรทุกให้เป็นรูปสี่เหลี่ยม แล้วใช้หลอดรองก้นกระดาษมัดติดกับยางรัด เพื่อพยุงกระดาษไว้ไม่ให้เปียกน้ำ

                                       ด้านหน้า                                           ด้านหลัง

เรือของเพื่อนแต่ละกลุ่ม

ตัวอย่างเรือบรรทุกของ

   >>สิ่งที่ได้จากกิจกรรมนี้คือ ได้รู้จักการวางแผน ได้ทักษะในการคิด การวิเคราะห์ และการวางโครงสร้าง<<

กิจกรรม "ดีไซเนอร์ระดับโลก"


   เป็นกิจกรรมที่ให้นักศึกษาแต่ละกลุ่มระดมความคิดในการออกแบบชุด โดยจะต้องใช้ "หนังสือพิมพ์" ในการทำชุด และเงื่อนไขในการทำชุดจะต้องประกอบด้วย
    1.เครื่องประดับศีรษะ
    2.เสื้อไหล่
    3.เครื่องประดับเเขนและนิ้ว
    4.กางเกง/กระโปรง/ผ้านุ่ง
    5.แผงหลัง
    6.รองเท้า
    7.อื่นๆ
โดยใช้เกณฑ์ในการออกแบบคือ มโหฬาร ยิ่งใหญ่ ใส่ใจองค์ประกอบ ครอบคลุมความหมาย

แต่ละกลุ่มช่วยกันระดมความคิด

เพื่อนๆช่วยกันออกแบบชุดกลุ่มของตัวเอง

กลุ่มของฉัน

นางแบบของแต่ละกลุ่ม

ให้แต่ละกลุ่มออกมาพูดถึงแรงบันดาลใจในการทำชุด

  >> จากกิจกรรมนี้ทำให้ได้ทักษะในการคิดสร้างสรรค์ การออกแบบ รวมถึงการทำงานร่วมกันภายในกลุ่ม<<

การนำไปประยุกต์ใช้
   ได้ความรู้ในเรื่องของความคิดสร้างสรรค์ จินตนาการ การได้ฝึกใช้ความคิดที่หลากหลาย ทั้งในการแก้ไขปัญหาต่างๆ การประยุกต์ขึ้นมาใหม่ จากกิจกรรมที่เรียนในวันนี้สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอนในอนาคต และยังเป็นประโยชน์ต่อการเรียนรู้เพื่อเพิ่มพูนประสบการณ์

ประเมินผล
 ประเมินตัวเอง
   แต่งกายสุภาพเรียบร้อย ตั้งใจเรียน ตั้งใจทำกิจกรรมในห้องเรียน ได้ทักษะในการทำกิจกรรมอย่างหลากหลายจากการเรียนการสอนในวันนี้ มีความสุข สนุกสนาน

 ประเมินเพื่อน
   เพื่อนๆสนุกสนานในการทำกิจกรรม ตั้งใจเรียน ตั้งใจฟังอาจารย์สอน มีความสามัคคีในการทำกิจกรรมร่วมกัน และให้ความร่วมมือในการทำงานต่างๆ

 ประเมินอาจารย์
   อาจารย์มีการเตรียมการเรียนการสอนมาดี มีอุปกรณ์ครบครันในการทำกิจกรรมต่างๆเสมอ อาจารย์มีความเป็นมิตร เป็นกันเองกับนักศึกษา และให้คำชี้แนะ คำปรึกษา แนะนำที่ดีเสมอ