วันอังคารที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 8

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 8
วันจันทร์ที่ 17 ตุลาคม 2559
เวลาเรียน 8.30-12.30 น.

เนื้อหาที่เรียน

   อาจารย์ทบทวนความรู้เรื่อง ความคิดสร้างสรรค์ จากสัปดาห์ที่แล้ว เกี่ยวกับกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ ในผลงานของเด็ก เด็กแต่ละคนจะมีความคิดที่แตกต่างกัน เมื่อเด็กมีความรู้สึกอย่างไรก็จะแสดงออกมาจากทางผลงานที่ทำ การจะทำให้เด็กได้มีความคิดสร้างสรรค์ ครูจะต้องมีบทบาทในการเป็นผู้อำนวยความสะดวกให้แก่เด็ก โดยการที่จะทำให้เด็กเกิดการเรียนรู้เริ่มจาก การคิดริเริ่ม นำไปสู่ความคิดสร้างสรรค์ ซึ่งเป็นการทำงานของสมอง 

บทบาทครูในการอำนวยความสะดวก
  -เตรียมอุปกรณ์ที่มีความหลากหลาย
  -ใช้สื่อการเรียนการสอนที่น่าสนใจและมีความหลากหลาก ไม่ซ้ำกัน
  -กระตุ้นด้วยการใช้คำถาม
  -ผลงานที่เด็กทำเสร็จแล้ว ทุกชิ้นควรมีการนำเสนอทุกคน
  -เมื่อเด็กทำดี ครูควรมีการเสริมแรง เช่น การให้รางวัล การชมเชย
  -ครูควรสร้างความเชื่อมั่นให้เด็ก เช่นการได้เเสดงออกความคิดเห็น
.................................................................

กิจกรรมตัวเลข

   อาจารย์แจกกระดาษให้นักศึกษาคนละแผ่น แล้วให้แบ่งกลุ่ม กลุ่มละ 10 คน โดยให้เเต่ละคนออกแบบตัวเลข 0-9 เลือกออกแบบคนละหนึ่งตัว และถ้าซ้ำกันภายในกลุ่ม โดยการออกแบบสามารถออกเเบบเป็นแบบใดก็ได้ตามความคิด จินตนาการ ฉันเลือกเลข 5


เป็นภาพที่รูปธงชาติไทย และรูปปาก ความรู้สึกที่วาดภาพนี้ออกมาเพราะ นึกถึงพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและคนไทย จึงวาดรูปปากออกมาสื่อถึงตนเอง

   หลังจากที่วาดเสร็จแล้ว อาจารย์ก็ให้ทุกคนนำผลงานไปติดที่หน้าห้อง โดยติดตามกลุ่ม เเละเรียงลำดับ 0-9 จนครบทุกกลุ่ม จากนั้นอาจารย์ก็ถามผลงานการออกแบบของแต่ละคนว่าทำไมถึงทำออกมาเป็นลักษณะต่างๆ เพราะอะไร คิดอะไรอยู่ถึงออกแบบ


**การออกแบบตัวเลขของแต่ละคนมีความแตกต่างกัน เช่น
   -ออกแบบจากการประสบการณ์เดิมที่เคยเห็นมา เช่น เลข 1 ออกแบบเป็นรูปธงชาติ เพราะมีลักษณะคล้ายหรือใกล้เคียงกับธงชาติ หรือออกแบบเลข 2 เป็นรูปห่าน
   -ออกแบบจากการรับรู้ถึงคุณสมบัติ เช่น ออกเเบบเลข 3 เเล้วนึกถึงน้ำแข็งที่ละลาย
   -ออกแบบจากความรู้สึกในขณะนั้น เช่น การออกเเบบเลข 5 โดยนึกถึงประเทศไทย พ่อหลวง
   -ออกแบบโดยการดัดแปลงตัวอักษรเดิมให้แปลกใหม่ มีลูกเล่น เช่น ออกแบบเลข 1 ให้มีแขน ขา ชี้อออกมา
   -ออกแบบให้มีแนวคงเดิมแต่มีการเติมแต่งเข้าไป เช่น เลข 4 ออกแบบให้เป็นเลข 4 เหมือนเดิม แต่ทำเป็นเหมือนไม้แห้งหัก

   จากนั้นอาจารย์ก็ให้นักศึกษานำผลงานของตนเองมาตกแต่งให้สวยงาม และตัดตัวเลขออกมา


   เมื่อได้ตัวเลขของแต่ละคนแล้ว อาจารย์แจกกระดาษเเข็งให้กลุ่มละ 10 แผ่น และไม้ไอติมกลุ่มละ 2 ถุง เพื่อให้นักศึกษาไปคิดกิจกรรมที่จะใช้สอน เพื่อสามารถนำไปเป็นสื่อเข้ามุม สามารถให้เด็กได้เรียนรู้ได้เอง โดยใช้นักศึกษาในกลุ่มช่วยกันระดมสมอง ระดมความคิดว่าจะทำกิจกรรมอะไรเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด


   หลังจากได้กิจกรรมเรียบร้อยแล้ว อาจารย์ก็ให้แต่ละกลุ่มออกมานำเสนอหน้าห้อง เพื่อที่จะให้คำแนะนำและเเก้ไขปรับปรุง กลุ่มของฉัน ทำสื่อพื้นฐานการบวก ทำเป็นหนังสือเปิดอ่าน โดยจะติดตัวเลขไว้ทางซ้ายมือ ทางขวาจะตีเป็นตาราง 2 ช่อง เพื่อที่จะสามารถนำไม้ไอติมมาติดตามตัวเลขด้านซ้ายมือได้ เช่น เลข 5 นำไม้ไอติม 3 ไม้ มาติดในช่องตารางหนึ่งช่อง นำไม้ไอติม 2 ไม้มาติดอีกช่องที่เหลือ รวมกันเป็น 5 ไม้ หรือช่องหนึ่งติด 4 ไม้ อีกช่องติด 1 ไม้ก็ได้

ตัวอย่าง

ตัวเลขอื่นๆ









การนำเสนอสื่อของแต่ละกลุ่ม

กลุ่มที่ 1 ทำเกมการศึกษาเกี่ยวกับ รูปและจำนวน สอนเกี่ยวกับติดภาพตัวเลขและใช้ไม้ไอติมแทนค่าจำนวนเป็นรูปเรขาคณิต 

กลุ่มของฉัน ทำสื่อพื้นฐานการบวก สอนโดยการใช้ไม้ไอติมติดตามตัวเลขด้านข้าง


กลุ่มที่ 3 ทำนิทานสอนเกี่ยวกับจำนวนและตัวเลข นำไม้ไอติมมาเเทนเป็นจำนวน


.............................................................................

การนำมาประยุกต์ใช้
   -นำมาประยุกต์ใช้ในการจัดการเรียนการสอนการจัดประสบการณ์ความคิดสร้างสรรค์เกี่ยวกับตัวเลขให้กับเด็ก เพื่อส่งเสริมให้เกิดจินตนาการ และความคิดสร้างสรรค์
   -นำมาเป็นความรู้ในการศึกษาต่อในอนาคต
   -นำมาประยุกต์ใช้ในการจัดทำสื่อต่างๆ 

ประเมินผล
ประเมินตนเอง
   มาเรียนเช้า แต่งกายเรียบร้อย ตั้งใจเรียน พยายามทำความเข้าใจเกี่ยวกับเนื้อหา ตั้งใจทำกิจกรรมและให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี

ประเมินเพื่อน
   เพื่อนๆเข้าเรียนตรงเวลาเกือบทุกคน ไม่พูดคุยเสียงดัง ตั้งใจเรียน ช่วยกันตอบคำถาม และให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมเป็นอย่างดี

ประเมินอาจารย์
   อาจารย์ใจดี สุภาพ เป็นกันเองกับนักศึกษา มีการเตรียมการเรียนการสอนมาดี อธิบายเนื้อหาชัดเจน ยกตัวอย่างประกอบ ทำให้เข้าใจได้ง่าย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น