วันอังคารที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 9

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 9
วันจันทร์ที่ 24 ตุลาคม 2559
เวลาเรียน 8.30-12.30 น.

** วันปิยมหาราช **


บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 8

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 8
วันจันทร์ที่ 17 ตุลาคม 2559
เวลาเรียน 8.30-12.30 น.

เนื้อหาที่เรียน

   อาจารย์ทบทวนความรู้เรื่อง ความคิดสร้างสรรค์ จากสัปดาห์ที่แล้ว เกี่ยวกับกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ ในผลงานของเด็ก เด็กแต่ละคนจะมีความคิดที่แตกต่างกัน เมื่อเด็กมีความรู้สึกอย่างไรก็จะแสดงออกมาจากทางผลงานที่ทำ การจะทำให้เด็กได้มีความคิดสร้างสรรค์ ครูจะต้องมีบทบาทในการเป็นผู้อำนวยความสะดวกให้แก่เด็ก โดยการที่จะทำให้เด็กเกิดการเรียนรู้เริ่มจาก การคิดริเริ่ม นำไปสู่ความคิดสร้างสรรค์ ซึ่งเป็นการทำงานของสมอง 

บทบาทครูในการอำนวยความสะดวก
  -เตรียมอุปกรณ์ที่มีความหลากหลาย
  -ใช้สื่อการเรียนการสอนที่น่าสนใจและมีความหลากหลาก ไม่ซ้ำกัน
  -กระตุ้นด้วยการใช้คำถาม
  -ผลงานที่เด็กทำเสร็จแล้ว ทุกชิ้นควรมีการนำเสนอทุกคน
  -เมื่อเด็กทำดี ครูควรมีการเสริมแรง เช่น การให้รางวัล การชมเชย
  -ครูควรสร้างความเชื่อมั่นให้เด็ก เช่นการได้เเสดงออกความคิดเห็น
.................................................................

กิจกรรมตัวเลข

   อาจารย์แจกกระดาษให้นักศึกษาคนละแผ่น แล้วให้แบ่งกลุ่ม กลุ่มละ 10 คน โดยให้เเต่ละคนออกแบบตัวเลข 0-9 เลือกออกแบบคนละหนึ่งตัว และถ้าซ้ำกันภายในกลุ่ม โดยการออกแบบสามารถออกเเบบเป็นแบบใดก็ได้ตามความคิด จินตนาการ ฉันเลือกเลข 5


เป็นภาพที่รูปธงชาติไทย และรูปปาก ความรู้สึกที่วาดภาพนี้ออกมาเพราะ นึกถึงพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและคนไทย จึงวาดรูปปากออกมาสื่อถึงตนเอง

   หลังจากที่วาดเสร็จแล้ว อาจารย์ก็ให้ทุกคนนำผลงานไปติดที่หน้าห้อง โดยติดตามกลุ่ม เเละเรียงลำดับ 0-9 จนครบทุกกลุ่ม จากนั้นอาจารย์ก็ถามผลงานการออกแบบของแต่ละคนว่าทำไมถึงทำออกมาเป็นลักษณะต่างๆ เพราะอะไร คิดอะไรอยู่ถึงออกแบบ


**การออกแบบตัวเลขของแต่ละคนมีความแตกต่างกัน เช่น
   -ออกแบบจากการประสบการณ์เดิมที่เคยเห็นมา เช่น เลข 1 ออกแบบเป็นรูปธงชาติ เพราะมีลักษณะคล้ายหรือใกล้เคียงกับธงชาติ หรือออกแบบเลข 2 เป็นรูปห่าน
   -ออกแบบจากการรับรู้ถึงคุณสมบัติ เช่น ออกเเบบเลข 3 เเล้วนึกถึงน้ำแข็งที่ละลาย
   -ออกแบบจากความรู้สึกในขณะนั้น เช่น การออกเเบบเลข 5 โดยนึกถึงประเทศไทย พ่อหลวง
   -ออกแบบโดยการดัดแปลงตัวอักษรเดิมให้แปลกใหม่ มีลูกเล่น เช่น ออกแบบเลข 1 ให้มีแขน ขา ชี้อออกมา
   -ออกแบบให้มีแนวคงเดิมแต่มีการเติมแต่งเข้าไป เช่น เลข 4 ออกแบบให้เป็นเลข 4 เหมือนเดิม แต่ทำเป็นเหมือนไม้แห้งหัก

   จากนั้นอาจารย์ก็ให้นักศึกษานำผลงานของตนเองมาตกแต่งให้สวยงาม และตัดตัวเลขออกมา


   เมื่อได้ตัวเลขของแต่ละคนแล้ว อาจารย์แจกกระดาษเเข็งให้กลุ่มละ 10 แผ่น และไม้ไอติมกลุ่มละ 2 ถุง เพื่อให้นักศึกษาไปคิดกิจกรรมที่จะใช้สอน เพื่อสามารถนำไปเป็นสื่อเข้ามุม สามารถให้เด็กได้เรียนรู้ได้เอง โดยใช้นักศึกษาในกลุ่มช่วยกันระดมสมอง ระดมความคิดว่าจะทำกิจกรรมอะไรเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด


   หลังจากได้กิจกรรมเรียบร้อยแล้ว อาจารย์ก็ให้แต่ละกลุ่มออกมานำเสนอหน้าห้อง เพื่อที่จะให้คำแนะนำและเเก้ไขปรับปรุง กลุ่มของฉัน ทำสื่อพื้นฐานการบวก ทำเป็นหนังสือเปิดอ่าน โดยจะติดตัวเลขไว้ทางซ้ายมือ ทางขวาจะตีเป็นตาราง 2 ช่อง เพื่อที่จะสามารถนำไม้ไอติมมาติดตามตัวเลขด้านซ้ายมือได้ เช่น เลข 5 นำไม้ไอติม 3 ไม้ มาติดในช่องตารางหนึ่งช่อง นำไม้ไอติม 2 ไม้มาติดอีกช่องที่เหลือ รวมกันเป็น 5 ไม้ หรือช่องหนึ่งติด 4 ไม้ อีกช่องติด 1 ไม้ก็ได้

ตัวอย่าง

ตัวเลขอื่นๆ









การนำเสนอสื่อของแต่ละกลุ่ม

กลุ่มที่ 1 ทำเกมการศึกษาเกี่ยวกับ รูปและจำนวน สอนเกี่ยวกับติดภาพตัวเลขและใช้ไม้ไอติมแทนค่าจำนวนเป็นรูปเรขาคณิต 

กลุ่มของฉัน ทำสื่อพื้นฐานการบวก สอนโดยการใช้ไม้ไอติมติดตามตัวเลขด้านข้าง


กลุ่มที่ 3 ทำนิทานสอนเกี่ยวกับจำนวนและตัวเลข นำไม้ไอติมมาเเทนเป็นจำนวน


.............................................................................

การนำมาประยุกต์ใช้
   -นำมาประยุกต์ใช้ในการจัดการเรียนการสอนการจัดประสบการณ์ความคิดสร้างสรรค์เกี่ยวกับตัวเลขให้กับเด็ก เพื่อส่งเสริมให้เกิดจินตนาการ และความคิดสร้างสรรค์
   -นำมาเป็นความรู้ในการศึกษาต่อในอนาคต
   -นำมาประยุกต์ใช้ในการจัดทำสื่อต่างๆ 

ประเมินผล
ประเมินตนเอง
   มาเรียนเช้า แต่งกายเรียบร้อย ตั้งใจเรียน พยายามทำความเข้าใจเกี่ยวกับเนื้อหา ตั้งใจทำกิจกรรมและให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี

ประเมินเพื่อน
   เพื่อนๆเข้าเรียนตรงเวลาเกือบทุกคน ไม่พูดคุยเสียงดัง ตั้งใจเรียน ช่วยกันตอบคำถาม และให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมเป็นอย่างดี

ประเมินอาจารย์
   อาจารย์ใจดี สุภาพ เป็นกันเองกับนักศึกษา มีการเตรียมการเรียนการสอนมาดี อธิบายเนื้อหาชัดเจน ยกตัวอย่างประกอบ ทำให้เข้าใจได้ง่าย

วันอาทิตย์ที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 7

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 7
วันจันทร์ที่ 10 ตุลาคม 2559
เวลาเรียน 8.30-12.30 น.


เนื้อหาที่เรียน

   ความคิดสร้างสรรค์ หมายถึง ความสามารถที่มีอยู่ในตัวบุคคล ซึ่งแสดงออกมาในรูปของการกระทำ การผลิตการตกแตงหรือการแสดงความคิดที่แปลกใหม่เว้นวรรคมีความหลากหลาย ความคิดสร้างสรรค์สามารถส่งเสริมและพัฒนาให้เกิดขึ้นได้ในเด็กปฐมวัย โดยการจัดสิ่งแวดล้อมและประสบการณ์ที่เปิดกว้างอย่างเหมาะสม

องค์ประกอบของความคิดสร้างสรรค์
  1.ความคิดริเริ่ม (Originality)
  2.ความคิดคล่องแคล่ว (Fluency)
  3.ความคิดยืดหยุ่น (Flexibility)  
  4.ความคิดละเอียดลออ (Elaboration)
  5.ความคิดสร้างสรรค์ (creativity)

  • ความคิดริเริ่ม (Originality) 
     ความคิดริเริ่ม หมายถึง ความคิดแปลกใหม่และแตกต่างไปจากความคิดธรรมดาหรือความคิดที่ต่างไปจากบุคคลอื่น
    ความคิดริเริ่มอาจเกิดจากการคิดจากเดิมที่มีอยู่แล้วให้แปลกแตกต่างจากที่เคยเห็น หรือสามารถพลิกแพลงให้กลายเป็นสิ่งที่ไม่เคยคาดคิด ความคิดริเริ่มอาจเป็นการนำเอาความคิดเก่ามาปรุงแต่งผสมผสานจนเกิดเป็นของใหม่ ความคิดริเริ่มมีหลายระดับซึ่งอาจเป็นความคิดครั้งแรกที่เกิดขึ้นโดยไม่มีใครสอนแม้ความคิดนั้นจะมีผู้อื่นคิดไว้ก่อนแล้วก็ตาม

  •  ความคิดคล่องแคล่ว (Fluency) 
   ความคิดคล่องแคล่ว หมายถึง ปริมาณความคิดที่ไม่ซ้ำกันในเรื่องเดียวกัน โดยแบ่งออกเป็น 4 ประเภท ดังนี้
              2.1 ความคล่องแคล่วทางด้านถ้อยคำ (Word Fluency) เป็นความสามารถในการใช้ถ้อยคำ
              2.2 ความคิดคล่องแคล่วทางด้านการโยงสัมพันธ์ (Associational Fluency) เป็นความสามารถที่จะคิดหาถ้อยคำที่เหมือนกันหรือคล้ายกันได้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้ภายในเวลาที่กำหนด
              2.3 ความคล่องแคล่วทางด้านการแสดงออก (Expression Fluency) เป็นความสามารถในการใช้วลีหรือประโยค กล่าวคือ สามารถที่จะนำคำมาเรียงกันอย่างรวดเร็วเพื่อให้ได้ประโยคที่ต้องการ
              2.4 ความคล่องแคล่วในการคิด (Ideational Fluency) เป็นความสามารถที่จะคิดในสิ่งที่ต้องการภายในเวลาที่กำหนด เช่น ให้คิดประโยชน์ของก้อนอิฐให้ได้มากที่สุดภายในเวลาที่กำหนด

  • ความคิดยืดหยุ่น (Flexibility) 
   ความคิดยืดหยุ่น หมายถึง ประเภท หรือแบบของการคิด แบ่งออกเป็น
              3.1 ความคิดยืดหยุ่นที่เกิดขึ้นทันที (Spontaneous Flexibility) เป็นความสามารถที่จะพยายามคิดได้หลายทางอย่างอิสระ เช่น คนที่มีความคิดยืดหยุ่นในด้านนี้จะคิดได้ว่าประโยชน์ของก้อนอิฐมีอะไรบ้าง คิดได้หลายทิศทางในขณะที่คนซึ่งไม่มีความยืดหยุ่นจะคิดได้เพียงทิศทางเดียว
              3.2 ความคิดยืดหยุ่นทางด้านการดัดแปลง (Adaptive Flexibility) หมายถึง ความสามารถที่คิดได้ไม่ซ้ำกัน ซึ่งมีประโยชน์ต่อการเเก้ไขปัญหา เช่น ก้อนหินทำอะไรได้บ้าง

  • ความคิดละเอียดละออ (Elaboration) 
   ความคิดละเอียดละออ หมายถึง ความคิดในรายละเอียดเป็นขั้นตอน สามารถอธิบายให้เห็นภาพชัดเจน หรือเป็นแผนงานที่สมบูรณ์ขึ้น ความคิดละเอียดละออจัดเป็นรายละเอียดที่นำมาตกแต่ง ขยายความคิดครั้งแรกให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น

ครูจะต้องทำอย่างไรก่อนจะสอนหรือกระตุ้นเด็ก
  1) เชื่อมั่นในตัวเด็ก
  2) ไม่เปรียบเทียบเด็ก แต่ละคนมีความแตกต่างกัน
3) เห็นศักยภาพของเด็ก แล้วดึงออกมา


เชื่อมั่น--->ยอมรับความแตกต่าง--->ดึงความสามารถของเด็กออกมา--->เห็นศักยภาพ
ถ้าเกิดกติกามาก จะทำให้เด็กเกิดความคิดสร้างสรรค์ กล้าที่จะเเสดงออกมากยิ่งขึ้น
ความสนใจ คือพฤติกรรมที่เเสดงออก และสะท้อนพัฒนาการ
................................................................................................................

การจัดกิจกรรมสร้างสรรค์

สาระที่ควรเรียนรู้
 1) เรื่องราวเกี่ยวกับตัวเด็ก
 2) เรื่องราวเกี่ยวกับสถานที่และสิ่งแวดล้อม
 3) ธรรมชาติรอบตัว
 4) สิ่งต่างๆรอบตัว

ประสบการณ์สำคัญ
 1) ส่งเสริมพัฒนาการด้านร่างกาย
 2) ส่งเสริมพัฒนาการด้านอารมณ์-จิตใจ
 3) ส่งเสริมพัฒนาการด้านสังคม
 4) ส่งเสริมพัฒนาการด้านสติปัญญา

หลักกิจกรรม
 1) กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ
 2) กิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์
 3) กิจกรรมเสรี
 4) กิจกรรมกลางแจ้ง
 5) กิจกรรมเสริมประสบการณ์
 6) กิจกรรมเกมการศกษา

การจัดลำดับขั้นตอนการสอน
 1) กำหนดเรื่อง
 2) เเยกองค์ประกอบ ในแต่ละหัวข้อหลัก
        -ชื่อเรียก
        -ลักษณะ
        -การดำรงชีวิต
        -ประโยชน์
        -ข้อควรระวัง
 3) เด็กลงมือปฎิบัติ

   **การบูรณาการระหว่างธรรมชาติของผู้เรียนเชื่อมโยงกับการดำรงชีวิตประจำวัน เช่น แก้วกระดาษกาแฟ ก่อนจะได้มาเป็นเเก้วกาแฟ 
 มาจากกะลา--> สร้างมาเป็นพลาสติก--> ปรับเปลี่ยนเยื่อกระดาษจากไม้ไผ่--> พอจับแล้วมันร้อนเกิดที่จับหู เพื่อความสะดวกก็ทำเป็นฝาปิด--> ทำให้สามารถดื่มได้ง่ายจึงทำที่ขอบปากให้นูน--> เพื่อสะดวกในการเดินทางจึงทำฝาปิด-->เพื่อความรวดเร็วในเวลาเร่งรีบจึงเจาะรูที่ฝา--> แล้วนำหลอดมาดูดจากในถ้วยได้
.........................................................................................

กิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์
หน่วย แมลง

   อาจารย์ให้นักศึกษาแบ่งกลุ่มออกเป็น 4 กลุ่ม แล้วแบ่งฐานออกเป็ย 4 ฐาน และให้นักศึกษาแต่ละกลุ่ม เวียนไปทำกิจกรรมแต่ละฐานจนครบทุกฐาน

1.ทำผีเสื้อจากการปั๊มมือ
   เริ่มต้นโดยการทาสีลงบนฝ่ามือเพื่อจะทำปีกผีเสื้อหนึ่งข้าง จากนั้นให้ปั๊มลงบนกระดาษ ทาสีลงบนฝ่ามืออีกข้างหนึ่งแล้วปั๊มลงบนกระดาษ จะได้ปีกสองข้าง จากนั้นเติมแต่งให้มีลำตัว มีหนวด เมื่อสีแห้งแล้วให้ตัดออกมา พับปีกผีเสื้อเข้าหากัน เพื่อให้เกิดรอย ใช้กระดาษตัดให้เป็นเส้นยาวมาติดปีกด้านหลังผีเสื้อทั้งสองข้าง เพื่อให้ขยับได้
   บูรณาการ วิทยาศาสตร์(ผีเสื้อ สี) ศิลปะ(ตกแต่ง สร้างสรรค์)
อุปกรณ์ในการทำ




 

2.สร้างของเล่นวิทยาศาสตร์จากจานกระดาษ
   เป็นกิจกรรมที่ใช้จานกระดาษในการทำของเล่น โดยให้ทำของเล่นอะไรก็ได้ที่เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์โดยการใช้จานกระดาษ ห้ามซ้ำกับเพื่อนในห้อง ฉันเลือกทำ ร่มชูชีพ หลักวิทยาศาสตร์คือ แรงต้านอากาศ เมื่อวัตถุมีขนาดใหญ่จะทำให้ตกช้ากว่าขนานเล็กเพราะมีพื้นที่มาก และทำให้ของค่อยๆตกลงสู่พื้น ถ้าด้ายยาวไม่เท่ากัน ร่มจะเอียง และร่มจะตกลงมาเฉียงๆเอียงๆมากกว่าร่มที่ด้ายยาวเท่าๆกันทุกข้าง
   บูรณาการ วิทยาศาสตร์(หลักวิทยาศาสตร์) คณิตศาสตร์(รูปทรง จำนวน) ศิลปะ(ตกแต่ง สร้างสรรค์)
อุปกรณ์ในการทำ
ร่มชูชีพ
3.เป่าสีฟองสบู่
   กิจกรรมนี้ให้นำสีมาผสมกับน้ำยาล้างจาน แล้วใช้หลอดจุ่มสี เมื่อเป่าจะทำให้เกิดฟอง ให้ใช้หลอดจุ่มสีต่างๆแล้วเป่าลงบนกระดาษ จะทำให้ภาพมีสีสัน
   บูรณาการ วิทยาศาสตร์ (แรงดันอากาศ) ความคิดสร้างสรรค์
การผสมสี
เสร็จแล้วค่ะ เป่าสีฟองสบู่

4.สร้างแมลงจากแกนทิชชู
   เพิ่มจากการตัดแกนทิชชู ใช้แกนทิชชูจากการตัด 1 แกน ให้ได้ 4 ส่วน แล้วนำมาทำเพียงเเค่ส่วนเดียวใน 4 ส่วน ตัดกระดาษให้เป็นวงกลมใหญ่กว่าแกนทิชชูเล็กน้อย หลังจากนั้นวาดรูปแมลงลงไปบนกระดาษตกแต่งให้สวยงาม นำแกนทิชชู่ที่ตัดไว้มาเจาะรูแล้วนำภาพที่วาดเสร็จแล้วมาติดกับแกนทิชชู ใช้เชือกมาร้อยที่เจาะรูไว้ และผูกปมไม่ให้เชือกหลุดออกจากกัน
   บูรณาการ คณิตศาสตร์ (การตัด จำนวน ขนาด) วิทยาศาสตร์(แรงดึง ความสมดุล) ศิลปะ(ตกแต่ง สร้างสรรค์)
การทำแมลงจากแกนทิชชู
เสร็จแล้วค่ะ สร้างแมลงจากแกนทิชชู
.........................................................................

การนำมาประยุกต์ใช้
     -นำมาใช้ในการจัดการเรียนการสอน ในการจัดกิจกรรมสร้างสรรค์ให้เกิดประโยชน์ และมีความหลากหลาย ให้กับเด็ก เพื่อส่งเสริมให้เด็กเกิดความคิดสร้างสรรค์
     -นำความรู้จากเนื้อหาสาระมาต่อยอดในการศึกษา และการเรียนในอนาคต
     -นำมาประยุกต์ในชีวิตประจำวันได้

ประเมินผล

 ประเมินตัวเอง
   เข้าเรียนตรงเวลา ขยันเรียน ตั้งใจเรียน ตั้งใจทำกิจกรรมต่างๆ จดเนื้อหาสาระที่สำคัญ พยายามทำความเข้าใจในเนื้อหา ได้ใช้ความคิดสร้างสรรค์ จินตนาการในการทำกิจกรรม

 ประเมินเพื่อน
   เพื่อนๆตั้งใจเรียน ไม่พูดคุยเสียงดัง ให้ความร่วมมือในการเรียนการสอน และตั้งใจทำกิจกรรมต่างๆเป็นอย่างดี

ประเมินอาจารย์
   อาจารย์เข้าสอนตรงเวลา แต่งกายสุภาพ มีการเตรียมอุปกรณ์ในการเรียนการสอนมาดี อธิบายเข้าใจ เน้นความสำคัญของเนื้อหา และมีการยกตัวอย่างประกอบการสอน


บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 6

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 6
วันจันทร์ที่ 3 ตุลาคม 2559
เวลาเรียน 8.30-12.30 น.


เนื้อหาที่เรียน
  วันนี้อาจารย์ให้นักศึกษาแต่ละกลุ่มออกมาพรีเซนต์กิจกรรมหน้าห้อง โดยให้แต่ละกลุ่มนำเสนอระบบ STEM และ STEAM จากงานในหัวข้อ Creative thinking "STEM & STEAM" ซึ่งแต่ละกลุ่มจะมีหน่วยกิจกรรมที่แตกต่างกัน แล้วให้เพื่อนๆในห้อง ร่วมกันทำกิจกรรมของเพื่อนแต่ละกลุ่มจนครบทุกกลุ่ม

กลุ่มของฉันนำเสนอเป็นกลุ่มแรก
หน่วย บ้าน
กิจกรรมสร้างบ้าน
บูรณาการ Mathematics=คณิตศาสตร์  Art=ศิลปะ   Engineering=การออกแบบ

                                               ด้านหน้า                           ด้านหลัง

นำเสนอ


เพื่อนๆรับอุปกรณ์ในการสร้างบ้าน



เพื่อนแต่ละกลุ่มช่วยกันสร้างบ้าน

ผลงานการสร้างบ้านของเพื่อนๆ

กลุ่มที่ 2
หน่วย ผลไม้
กิจกรรมทำมงกุฏผลไม้
บูรณาการ Engineering=การออกแบบ  Mathematics= คณิตศาสตร์  Art=ศิลปะ

นำเสนอ

ถ่ายรูปก่อนทำงาน

ผลงานของกลุ่มเรา มงกุฏส้ม



กลุ่มที่ 3
หน่วย ยานพาหนะ
กิจกรรมประดิษฐ์หุ่นนิ้วยานพาหนะ
บูรณาการ  Mathematics= คณิตศาสตร์  Engineering=การออกแบบ  Art=ศิลปะ
นำเสนอ

ช่วยกันสร้างหุ่นนิ้ว

เสร็จแล้ว รถยนต์กลุ่มเรา

ทุกกลุ่ม

กลุ่มที่ 4
หน่วย ผลไม้
กิจกรรมทำผลไม้จากหนังสือพิมพ์
บูรณาการ  Engineering=การออกแบบ  Art=ศิลปะ

นำเสนอ

กำลังทำสตอเบอรี่ ขยำ ขย่ำ

ผลงานของกลุ่มเรา กล้วยและสตอเบอรี่

ผลงานแต่ละกลุ่ม

กลุ่มที่ 5
หน่วย ปลา
กิจกรรมตกแต่งจานกระดาษ
บูรณาการ  Engineering=การออกแบบ  Mathematics= คณิตศาสตร์  Art=ศิลปะ

นำเสนอ

ระบายสี

ผลงานกลุ่ม 

ผลงานของแต่ละกลุ่ม

กลุ่มที่ 6
หน่วย ไข่
กิจกรรมออกแบบไข่ล้มลุก
บูรณาการ  Engineering=การออกแบบ Art=ศิลปะ

นำเสนอ

วาดสวย ๆ นะ

ผลงานของทุกกลุ่ม

การนำไปประยุกต์ใช้
   -สามารถนำไปใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนได้ 
   -นำความรู้ที่ได้จาก ระบบ STEM และ STEAM ไปปรับใช้ในชีวิตประจำวัน และการสอนที่หลากหลายได้
   -นำไปเป็นความรู้ในการเรียนการสอนต่อไปได้ 
   -ได้ทักษะในการคิดสร้างสรรค์ การออกแบบ

ประเมินผล
 ประเมินตนเอง
   ตั้งใจทำกิจกรรม และให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรม มีส่วนร่วมในการทำงาน มีสัมพันธ์ที่ดีร่วมกับเพื่อนๆ ได้คิด จินตนาการ สร้างสรรค์ของงาน และการแสดงออก

 ประเมินเพื่อน
   เพื่อนๆตั้งใจทำกิจกรรมมากๆ แต่ละกลุ่มต่างทำผลงานให้ออกมาดี ทุกคนให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรม และมีสนุกสนานในการทำกิจกรรมมาก

 ประเมินอาจารย์
   อาจารย์ใจดี เป็นกันเอง มีการเตรียมอุปกรณ์ที่ใช้ในการเรียนการสอนมาเป็นอย่างดี และให้อิสระในการทำกิจกรรมอย่างเต็มที่